การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีตกแต่งด้วยเสื่อกก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่และเสื่อกกแปรรูป ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ ใจทน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • อัมพวัน ยันเสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

กระเป๋าสตรี, เสื่อกก, กลุ่มทอผ้ามัดหมี่และเสื่อกกแปรรูป

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ออกแบบและผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีตกแต่งด้วยเสื่อกก สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่และเสื่อกกแปรรูป ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร 2. ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีตกแต่งด้วยเสื่อกก สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่และเสื่อกกแปรรูป ตำบลห้วยแก้วอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร จากแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน พร้อมข้อเสนอแนะ จากการทำวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ออกแบบและผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีตกแต่งด้วยเสื่อกก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 และจากการประเมินผลในแต่ละด้าน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจการออกแบบมีรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการ หรือความนิยมในปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.70 รองลงมามีการนำวัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.63 และมีความแปลกใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53
  2. 2. ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีตกแต่งด้วยเสื่อกก พบว่า ด้านการออกแบบ, ด้านผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีตกแต่งด้วยเสื่อกก จำนวน 6 รูปแบบ มีความพึงพอใจต่อกระเป๋าทรง Shopping bag, กระเป๋าทรง Tote Bag กระเป๋าทรงสีเหลี่ยมผืนผ้า, กระเป๋าทรง Top-handle bag, กระเป๋าทรง Duffel หรือกระเป๋าใบใหญ่มีหูหิ้วและสายสะพาย, ผลิตภัณฑ์กระเป๋าทรง Crossbody, กระเป๋าทรง Backpack และด้านคุณค่าและประโยชน์ใช้สอย มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จากทุกข้อของการประเมิน สำหรับคะแนนเฉลี่ยรวมจากทุกข้อที่ประเมินในแต่ละด้านพบว่า ทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

การออกแบบ. (2567). การออกแบบ. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2567 จาก https://sites.google.com/site/krutunop/ng2310.

ฉายรุ่ง ไชยกำบัง. (2547). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน เครื่องจักถานไม้ไผ่ลายชิดบ้านหนองสระพังหมู่ที่3 ตำบลหนองห้าง.

มนัสนันท์ ประชุมพันธ์. (2560) การออกแบบกระเป๋าหนังสำหรับบุรุษวัยทำงานโดยใช้ แนวความคิดสังคมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศิลปะนิพนธ์เสนอคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้ามัดหมี่และเสื่อกกแปรรูป ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2567. จาก https://www.huaykaew.go.th/contact.php.

วาสนา สายมา. (2546). คู่มือสื่อการเรียนออนไลน์ : วิชา ออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์เทคนิคการทำนูนสีโลหะ,ออกแบบผลิตภัณฑ์ Macrame. เชียงใหม่: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ.

สุทธิดา เอกวนิชชา. (2563). การวิจัยและพัฒนารูปแบบกระเป๋าหนังสาน ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทย สำหรับธุรกิจเครื่องหนังในประเทศไทย. ใน ปริญญานิพนธ์.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุทธิตา สุพลสิงห์. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชนของชาวบ้านทุ่งสะแบง ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14