ศักยภาพและโอกาสการจัดตั้งตลาดค้าปลีกริมน้ำ ของชุมชนริมคลองลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธมลวรรณ ธีระบัญชร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • มณฑล จันทร์แจ่มใส มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สุรางค์รัตน์ แสงศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ตลาดริมน้ำ, โอกาสจัดตั้งตลาด, ศักยภาพตลาด, ตลาดค้าปลีก, การจัดตั้งตลาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อ 1.ศึกษาพฤติกรรมการจำหน่ายสินค้าและบริการของคนในชุมชนริมคลองลาดพร้าวเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการจัดตั้งตลาด 2.ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บริการตลาดค้าปลีกริมน้ำเพื่อวิเคราะห์โอกาสของการจัดตั้งตลาดอันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนได้มาจับจ่ายและท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ตลาดเป็นเครื่องสะท้อนอัตลักษณ์และสร้างรายได้ให้ชุมชน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจาก 5 เขตพื้นที่ พื้นที่ละ 8 ตัวอย่าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และแบบสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคจำนวน 400 คน ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา แล้วนำข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ด้วย SWOT analysis

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทำให้ตลาดมีศักภาพ ในการดึงดูดลูกค้าประกอบด้วย 11 ปัจจัย ได้แก่ การมีร้านอาหารคาว ร้านอาหารหวาน ร้านผลไม้ ร้านเครื่องดื่ม ร้านสินค้าอุปโภค บริการขนส่ง บริการหัตถการและนำเที่ยว บริการด้านบันเทิงและศิลปการแสดง บริการ

ท่องเที่ยวและทำกิจกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก และทำเลชัยภูมิที่ตั้ง และโอกาสในการจัดตั้งตลาด ได้แก่ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ สะดวกในการเดินทาง ให้ความสำคัญกับปัจจัยบริการท่องเที่ยวและทำกิจกรรม บริการหัตการและนำเที่ยว และมีการใช้จ่ายเงินสำหรับซื้อสินค้าอาหารคาว อาหารหวาน สินค้าอุปโภค เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าศักยภาพที่ตลาดมีนั้นสอดคล้องโอกาสซึ่งสามารถต่อยอดสังเคราะห์เป็นกลยุทธ์ SO ที่นำไปสู่การจัดตั้งตลาดให้สามารถดึงดูดผู้คนให้มาใช้บริการได้

References

ชิตาภรณ์ ศักดิ์มงคลพิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการตลาดนัดตอนกลางคืน ใน เขตกรุงเทพมหานคร. คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยฤทธิ์ ทอดรอด และคณะ. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดกลางคืนของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 197-210.

ทัศนา หงษ์มา. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้ซื้อในตลาดนัด. วาสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 122-138.

ทรงศิริ วิชิรานนท์. (2552). พัฒนาการและการดำรงอยู่ของตลาดนัด. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

มีรา ระเด่นอาหมัด และคณะ. (2562). รูปแบบตลาดนัดผู้สูงอายุ จังหวัดยะลา. คณะวิทยการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

รัตญา เทวรักษ์. (2560). การจัดการพื้นที่ตลาด: กรณีศึกษาตลาดนัดหัวมุม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิไลวรรณ ศิริอำไพ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวตลาดโบราณบ้านสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี. วาสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี, 19(2),85-101.

วีรยุทธ์ สวัสดิ์กิจไพโรจน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือดซื้อสินค้าของผู้ซื้อในตลาดกรณีศึกษาตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศุภนิช คงสมรส. (2553). พฤติกรรมการซื้อสินค้าในตลาดนัดเคลื่อนที่ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สินสุข แสงแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในตลาดนัดหัวมุมเกษตรนวมินทร์ เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. วาสารร่มพฤษ์, 30(1), 50-64.

สุชานาถ พัฒนวงศ์งาม. (2560). ตลาดนัดชุมชนเป็นเศรษฐกิจฐานรากของจุดเริ่มต้นกระบวนการโลจิสติกส์: กรณีศึกษาตลาดนัดชุมชนบริเวณสนามกีฬาเทศบาลเมือง ฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 197-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14