การวางแผนและการสรรหากำลังพลพนักงานสอบสวนหญิงของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศึกษากรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล
คำสำคัญ:
การวางแผนและการสรรหา, พนักงานสอบสวนหญิง, สำนักงานตำรวจแห่งชาติบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์อัตรากำลังพลพนักงานสอบสวนหญิงในปัจจุบัน 2. ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดกำลังพลพนักงานสอบสวนหญิงในปัจจุบัน และ 3. ศึกษาแนวทางการวางแผนและการสรรหาพนักงานสอบสวนหญิงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้แนวทางการวิจัยแบบผสม เชิงคุณภาพใช้การสังเกตและสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้เกี่ยวข้องพนักงานสอบสวนหญิงจำนวน 18 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ส่วนแนวทางการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงานสอบสวนหญิง 52 ราย วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจุบันพนักงานสอบสวนหญิงที่ปฏิบัติงานประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาลมีทั้งสิ้น 73 นาย แบ่งเป็นระดับตำแหน่ง ร.ต.ต.หญิง-ร.ต.อ.หญิง จำนวน 54 นาย และระดับ พ.ต.ต.หญิง-พ.ต.อ.หญิง จำนวน 19 นาย 2. ปัญหาการวางแผนกำลังพลคือ การแจ้งประกาศการรับสมัครไปยังสถานที่ต่าง ๆ ยังไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่โดยเฉพาะสถานศึกษา และ 3. แนวทางการการวางแผนและการสรรหาพนักงานสอบสวนหญิงควรเพิ่มช่องทางในการสรรหาด้วยการประยุกต์ใช้เฟซบุ๊กหรือเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ยูทูป ทวิตเตอร์ เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์
References
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2560). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวสำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ประจำปี 2560. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.
ไกรวุฒิ วัฒนสิน. (2563). การศึกษาความท้าทายการปฏิบัติหน้าที่ของนายร้อยตำรวจหญิง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 197-210.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2561). กสม.เผยกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่รับพนักงานสอบสวนหญิงถือเป็นการเลือกปฏิบัติ แนะรัฐบาลดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีฯ เพิ่มสัดส่วนสตรีในระบบราชการ. เรียกใช้เมื่อ 8 ตุลาคม 2567 จาก http://www .nhrc.or.th/NHRCT-Work/statement-Press-open-letters/Press-Releases
ชัยวุฒิ เกียรติก้องกำจาย. (2557). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านสอบสวนของพนักงานสอบสวนหญิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 4(3), 28-37.
ตระกูล จิตวัฒนากร นันทนา ชวศิริกุลฑล นพพงศ์ เกิดเงิน และจำเนียร จวงตระกูล. (2567). การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านนักวิจัย: กลยุทธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือได้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิจัยชุมชนและการพัฒนาสังคม, 18(3), 522-534.
พัชรา สินลอยมา วรธัช วิชชุวาณิชย์ และมุทิตา มากวิจิตร์. (2561). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการกำลังพลของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(1), 97-113.
ภูวไนย อินจาด. (2564). การรักษาพนักงานสอบสวนหญิงให้อยู่ในตำแหน่งงาน กรณีศึกษา: พนักงานสอบสวนหญิงที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล. เรียกใช้เมื่อ 8 ตุลาคม 2567 จาก https://digital.car.chula.ac.th/c gi/viewcontent.cgi?article=8986&context=chulaetd
มณฑล เงินวัฒนะ. (2555). บทบาทภาครัฐในการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมงพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(3),150.
เยาวเรศ สุขนิรันดร์ พรชัย ขันตี และอาภาศิริ สุวรรณานนท์. (2559). ความคาดหวังของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สอบสวนหญิง กองบังคับการตำรวจนครบาล 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์, 65-72.
สิริรัตน์ เพียรแก้ว. (2567). แนวทางพัฒนาเส้นทางอาชีพตำรวจหญิงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 299-312.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2557). ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2557-2566. เรียกใช้เมื่อ 8 ตุลาคม 2567 จาก http://www.human.police.go.th/oenload /310757.pdf
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 538/2555 ลงวันที่ 27 ก.ย. 55 การปฏิบัติและอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนและผู้ปฏิบัติงานสอบสวน.
อลิสมา หวังเจริญ และฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2563). บทบาทการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของพนักงานสอบสวนหญิงในสถานีตำรวจ. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตํารวจ, 6(1), 91-105.
Dalessandro, C. (2018). Recruitment tools for reaching millennials: The digital difference. International Journal of Qualitative Methods, 17, 1-7.
Lambert, L.S., & Newman, D.A. (2023). Construct Development and Validation in Three Practical Steps: Recommendations for Reviewers, Editors, and Authors. Organizational Research Methods, 26(4), 574–607.
Lim, W.M. (2024). A typology of validity: content, face, convergent, discriminant, nomological and predictive validity. Journal of Trade Science, 12(3), 155-170.
Rak, T., & Wrześniowski, S. (2023). Cronbach’s alpha - what makes it really good? Some advice for planning and criticizing psychological questionnaires. Przegląd Psychologiczny, 66(4), 151-167.
Robertson, J.G. (2019). The impact of the digital society on police recruit training in Canada. Retrieved October 8, 2024, from file:///C:/Users/Administrator.PC-202312051239/Down lods/Robertson_James_G.pdf