แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ธีระโชตติกุล ยาวยืน มหาวิทยาลัยมหมกุฏราชวิทยาลัย
  • สุธามาศ นพเทศน์ มหาวิทยาลัยมหมกุฏราชวิทยาลัย
  • วัชรพงษ์ โสภาจร มหาวิทยาลัยมหมกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนออนไลน์, แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน, นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนา ประยุต์ใช้และประเมินประสิทธิผลของแนวทางการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2566 ใช้ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้ประชากร จำนวน 101 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษา มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (m 3.29) ความพึงพอใจด้านออกแบบบทเรียน มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (m 3.35) ความพึงพอใจด้านการใช้งาน มีค่าอยู่ในระดับมาก (m 3.41) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในตัวแปรที่นำมาศึกษาและความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ ของนักศึกษา มีค่าอยู่ระหว่าง .402 ถึง .528 โดยตัวแปรต้นทั้ง 8 มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำมาปรับให้เหมาะสมกับนักศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยการพัฒนาสื่อการ

เรียนการสอนให้เหมาะสม สาระสำคัญโดยภาพรวม คือ รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำมาปรับให้เหมาะสมกับนักศึกษาการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์โดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมควรเพิ่มสื่อในการอธิบายเนื้อหา เช่น สื่อในรูปแบบการนำเสนอผ่านเพาเวอร์พ้อย (Power Point) และสื่อในรูปแบบของพอร์ตแคช (Podcast)

References

กระทรงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ผู้จัดพิมพ์เผยแพร่.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2550). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชำนาญ ด่านคำ และคณะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการเข้าเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการคิดและการตัดสินใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ตรัง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

พระมหาวีรเดช อธิปญฺโญ และคณะ. (2562). การพัฒนาเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานอีสป ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

วัลภา วงศ์จันทร์ (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รายวิชาการเงินระหว่างประเทศ. ใน รายงานการวิจัย. รายวิชาการเงินระหว่างประเทศ.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565, จาก: https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2522). สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างองค์ประกอบด้านเชาวน์ปัญญา ปัญหาส่วนตัวนิสัย และเจตคติในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรชัย วงษ์ชาลี และคณะ. (2560). พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

อนุ สงศรี (2551) ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนน O-NET และคะแนน A-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2550. ใน รายงานวิจัย. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

Brown and Holtzman (1955). A study-attitudes questionnaire for predicting academic success. Publication Date. Feb 1955

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14