การประยุกต์ใช้หลักธรรมในมังคลัตถทีปนี เพื่อการดำเนินชีวิตเมื่อเผชิญกับโลกธรรม
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้หลักธรรม, มังคลัตถทีปนี, โลกธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิชาการ นำเสนอการประยุกต์ใช้หลักธรรมในมังคลัตถทีปนีเพื่อการดำเนินชีวิตเมื่อเผชิญกับโลกธรรม จากการศึกษาพบว่า ในมังคลัตถทีปนี หลักธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเมื่อเผชิญกับโลกธรรม ปรากฎอย่างเด่นชัด 3 หลักธรรม คือ 1) ขันติธรรม 2) โยนิโสมนสิการ และ 3) ไตรลักษณ์ ในการอธิบายมงคลข้อที่ว่าด้วยขันติ และมงคลข้อที่ว่าด้วยอโสกจิต พระสิริมังคลาจารย์ได้พรรณนาขันติธรรมโดยยกนิทานเรื่องขันติวาทีดาบสมาประกอบการอธิบาย ส่วนในเรื่องของโยนิโสมนสิการ ท่านได้อธิบายโดยยกเรื่องพระเจ้าฆตราช มาเป็นนิทานอุทาหรณ์ และในเรื่องไตรลักษณ์ ท่านได้นำเรื่องของชนทั้ง 5 ที่สามารถใช้เป็นตัวอย่างในการพิจารณาไตรลักษณ์มาประกอบการอธิบาย
กล่าวโดยสรุป การเผชิญกับโลกธรรม 8 ประการ ตามแนวสารัตถะของมังคลัตถทีปนี ควรใช้หลักธรรม 3 ประการ คือ ขันติธรรม ความอดทนอดกลั้น โยนิโสมนสิการ การพิจารณาโดยอุบายวิธีที่แยบคาย และการพิจารณาไตรลักษณ์ มองเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่
ตัวตน โดยนำโยนิโสมนสิการมาประยุกต์ใช้ในการรับมือกับโลกธรรมฝ่ายดี คือ มีลาภ มียศ สุข สรรเสริญ และการนำขันติธรรมและการพิจารณาไตรลักษณ์มาประยุกต์ใช้ในการรับมือกับโลกธรรมฝ่ายเสื่อม คือ หมดลาภ หมดยศ ทุกข์ และนินทา ซึ่งจะสามารถช่วยให้เผชิญหน้ากับโลกธรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายเสื่อมอได้ย่างมีสติและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุข
References
จุมพล สุยะต๊ะ. (2567) ลักษณะเด่นของผลงานวรรณกรรมบาลีของพระสิริมังคลาจารย์. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทัศน์, 8(2), 384 - 398.
______.(2567). คุณค่าของมังคลัตถทีปนีในฐานะวรรณกรรมต้นแบบของบาลีในประเทศไทย”. วารสาร มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 16(1), 61 - 76.
คณะกรรมการแผนกตำราและวิชาการ. (2555). มงฺคลตฺถทีปนี (ปฐโม ภาโค). (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
______.(2558). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
บาลี พุทธรักษา. (2560). ทีปนีล้านนา ที่โดดเด่นในพุทธศตวรรษที่ 21 ของพระสิริมังคลาจารย์แห่งวิหารสวนขวัญ นวปุระ. ธรรมจักษุ, 101 (12), 68-73.
พระมหาจุมพล สุยะต๊ะ. (2564). ลักษณะเด่นและคุณค่าของผลงานวรรณกรรมบาลีของพระสิริมังคลาจารย์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ลิขิต ลิขิตานนท์. (2534). วรรณกรรมพุทธศาสนาเถรวาท. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิโรจน์ อินทนนท์. (2556). “มังคลัตถทีปนี” ใน ตามรอยพระสิริมังคลาจารย์ สังฆปราชญ์ล้านนา. หน้า 154 – 182. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
สมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2560). มังคลัตถทีปนี: แนวทางการดำรงอยู่แห่งชีวิตทียั่งยืน. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2550). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
______.(2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2539).พระไตรปิฎกภาษาไทยพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒโน). (2557). ความเข้าใจเรื่องชีวิต. นครปฐม: สาละพิมพการ.
พระประเทือง ขนฺติโก (ศรีสมบูรณ์). (2556). ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของโลกธรรม 8 ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเทวินทร์ ครุฑแก้ว. (2543). “การศึกษาพุทธจริยศาสตร์ ศึกษาเฉพาะพุทธจริยธรรมในมังคลัตถทีปนี”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาลงกรณราชวิทยาลัย.