การเปรียบเทียบคำลักษณนามภาษาจีนกับคำลักษณนามภาษาไทยที่ใช้ร่วมกับคำนามใหม่

Main Article Content

ศิรสา ชลายนานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเหมือนและความแตกต่างของการใช้คำลักษณนามภาษาจีนและภาษาไทยร่วมกับคำนามใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (Comparative Analysis) และใช้แบบจำลองแสดงระบบการแยกประเภทคำนามเพื่อวิเคราะห์การใช้คำลักษณนามของ จางเชิง (张赪, 2009)  ผู้วิจัยได้ศึกษาคำลักษณนามที่ใช้กับคำนามใหม่ จำนวน 30 คำ โดยแบ่งประเภทของคำนามใหม่เป็น 6 ประเภท ดังนี้ 1) ประเภทคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ 2) ประเภทอินเทอร์เน็ต 3) ประเภทโทรศัพท์มือถือ 4) ประเภทบุคคล 5) ประเภทสถานที่ และ 6) ประเภทยานพาหนะ ผลการศึกษาพบว่า  คำลักษณนามทั้งภาษาไทยและภาษาจีนเพียงคำเดียวสามารถนำไปใช้ได้กับคำนามใหม่ได้หลายประเภท คำลักษณนามภาษาจีนหลายคำสามารถใช้กับคำนามใหม่ที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตก็ได้ ในขณะที่ภาษาไทยจะแบ่งแยกการใช้คำลักษณนามกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตออกจากกันอย่างชัดเจน ดังนั้น การใช้คำลักษณนามภาษาจีนจึงค่อนข้างยืดหยุ่นมากกว่าภาษาไทย ภาษาไทยมักใช้คำลักษณนามเป็นคำเดียวกันกับคำนามที่ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษตามชื่อเรียกคำนามใหม่นั้นๆ แต่ภาษาจีนจะใช้คำลักษณนามภาษาจีนกับคำนามใหม่แทนที่จะใช้คำนามที่ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษตามชื่อเรียกคำนามดังกล่าวเป็นคำลักษณนาม

Article Details

บท
บทความ

References

จริยา วาณิชวิริยะ. (2549). คู่มือลักษณนามจีน-ไทย. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.
เจิ้งเยี๋ยนผิง และ ตู้ชิวเหนียง. (2548). คู่มือเรียนคำลักษณนามในภาษาจีน. กรุงเทพฯ: วิถีเรียนรู้.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2541). พจนานุกรมจีน-ไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2546). ลักษณนาม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วาสนา พันธมงคล และ กฤษณา สุภาษร. (2554). การศึกษาปัญหาการใช้ “ลักษณนามจีนบอกปริมาณ” ในภาษาจีนของนักศึกษาไทยกรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 สาขาวิชาภาษาจีน
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. โครงการรถไฟฟ้า. สืบค้น 19 กันยายน 2559, จาก https://www.mrta.co.th/th/MRTAproject/purpleLine.php
กาญจนา นาคสกุล. คลังความรู้ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สืบค้นเมื่อ 2558, จาก http://www.royin.go.th/?knowledges= ลักษณนามของคำว่าช้าง
บริษัท ขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส). ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส. สืบค้น 19 กันยายน 2559, จาก http://www.bts.co.th/corporate/th/02-system-route.aspx
คลังศัพท์ไทย. Retrieved from http://www.thaiglossary.org/
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. ผุดยุทธศาสตร์คมนาคม 20 ปี “อาคม” ไฟเขียวรถไฟเร็วสูงวิ่งถึงสุราษฎร์. สืบค้น 10 กันยายน 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/717818
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. นวัตกรรมพร้อมใช้. สืบค้น 19 กันยายน 2559, จาก http://www.nectec.or.th/innovation/
Collins English-Chinese Dictionary. Retrieved from https://www.collinsdictionary.com/dictionary/english-chinese
Xinhua News Agency. Retrieved July 2014 – September 2016, from http://www.news.cn/english/
Bangkok Post. Retrieved July 2014 – September2016, from http://www.bangkokpost.com/
褚佩如,金乃逯. (2002). 汉英对照汉语量词学习手册. 北京: 北京大学出版社.
黄见德等.(1991).西方哲学东渐史.武汉: 武汉出版社.
马建忠.(1898).马氏文通: 商務印書館.
黎锦熙.(2007). 新著国语文法 : 湖南教育出版社.
邱琼.(2010).汉、泰语中用于人的量词的异同.红河学院学报8(3).
徐妙珍.(2010).汉泰语临时名量词对比与教学研究:[硕士学位论文]:西南大学.
张赪.(2009).类型学背景下的汉泰语量词义系统对比和汉 语量词教学. 世界汉语教学(4):508-518.
张礼.(2009).现代汉语语法.08年秋季学期面授资料:暨南大学(1): 10-11.
周静.(2008).现代汉语语法.07年秋季学期面授资料:暨南大学(1): 17.