การวิเคราะห์องค์ประกอบทางวัฒนธรรมไทยใน “อสรพิษ” ฉบับภาษาสเปน

Main Article Content

ทินประภา กรดนิยมชัย
ภาสุรี ลือสกุล

บทคัดย่อ

“อสรพิษ” ของแดนอรัญ แสงทองเป็นเรื่องสั้นที่องค์ประกอบทางวัฒนธรรมไทยมีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ สิ่งของเครื่องใช้ ชื่อเฉพาะของตัวละครและสถานที่ ไปจนถึงการละเล่นท้องถิ่น ผลงานนี้ได้แปลสู่หลากหลายภาษารวมถึงภาษาสเปนซึ่งเป็นภาษาของประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกับไทยอย่างมาก บทความนี้มุ่งวิเคราะห์เทคนิคการถ่ายทอดความหมายทางวัฒนธรรมไทยในต้นฉบับภาษาสเปนซึ่งแปลผ่านภาษาที่สองอย่างภาษาฝรั่งเศส การวิเคราะห์เริ่มจากแบ่งองค์ประกอบทางวัฒนธรรมออกเป็นหมวดหมู่ คัดเลือกเทคนิคการแปลจากทฤษฎีต่างๆ และวิเคราะห์ตัวอย่างคำแปลในต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปน ผลลัพธ์ การแปลส่วนใหญ่ใช้หลายเทคนิคผสมผสานกัน เทคนิคที่ใช้มากคือการดัดแปลง (adaptation) เพื่อดัดแปลงคำแปลให้เข้ากับวัฒนธรรมปลายทาง และการสร้างสมมูลภาพ (equivalence) เพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่ทั้งสองวัฒนธรรมมีร่วมกัน อย่างไรก็ดี แม้โดยทั่วไปแล้ว ต้นฉบับภาษาสเปนจะใช้การแปลตรงจากภาษาฝรั่งเศส แต่มีบางกรณีที่ผู้แปลภาษาสเปนเลือกใช้เทคนิคที่แตกต่างออกไปและสามารถสื่อความได้ใกล้เคียงต้นฉบับภาษาไทยมากกว่า 

Article Details

บท
บทความ

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2558). “อสรพิษ”: ความหวั่นไหวทางจิตวิญญาณในการต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว. ใน สุปาณี พัดทอง (บ.ก.), ทอแพรดอกไม้ในสายธารา (น. 15-23). กรุงเทพ: สันติศิริการพิมพ์.

แดนอรัญ แสงทอง. (2545). อสรพิษ. ประจวบคีรีขันธ์: ส านักพิมพ์แมวคราว.

แดนอรัญ แสงทอง. (2559). อสรพิษฉบับสามภาษา. กรุงเทพฯ: ไชน์ พับลิชชิ่ง เฮ้าส์.

นิชานันท์ นันทศิริศรณ์ . (2559). แดนอรัญ แสงทอง ในฐานะนักเล่านิทาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พริมขวัญ โกมลมนัส. (2560). อสรพิษ...พิษงูหรือจะสู้พิษคน. ใน หัตถกาญจน์ อารีศิลป (บ.ก.), อ่าน-คิด-เขียน รวมบทวิจารณ์วรรณกรรมของนักเรียนวรรณกรรม (น.63-67). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. สืบค้น 25 มีนาคม 2562, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/.

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2548). มาตรวจแก้ต้นฉบับวรรณกรรมแปลกันเถิด (จบ). มติชนสุดสัปดาห์ บทความพิเศษ 25 (1293) [ออนไลน์]. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.bflybook.com/Article/TranslateLiterature15/Translate

Literature15.htm.

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2557). การแปลวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์.

สายวรุณ น้อยนิมิตร. (2547). อสรพิษ การปลดปล่อยของจิตวิญญาณขบถ. ใน สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ (บ.ก.), มองข้ามบ่านักเขียน: เรื่องสั้นไทยในทัศนะนักวิจารณ์ (น. 327-334). กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์ชมนาด.

อาทิตย์ ศรีจันทร์. (2560). “อสรพิษ... พิษงูหรือจะสู้พิษคน” ยังกลับไปได้และน่าจะไปให้ถึง. ใน หัตถกาญจน์ อารีศิลป (บ.ก.), อ่าน-คิด-เขียนรวมบทวิจารณ์วรรณกรรมของนักเรียนวรรณกรรม (น. 69-75). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 60 ปี จุฬาตรีคูณกับ “พนมเทียน”. (2553). [ออนไลน์]. สืบค้น 2 เมษายน 2562, จาก http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=20185

Catford, J. C. (1965). A Linguistic Theory of Translation. Oxford: Oxford University Press.

Centre National de Ressources Textuelles et Lexicales. Lexicographie. Retrieved May 15, 2019, from https://www.cnrtl.fr/definition/

Larousse Dictionnaire de Français. Retrieved May 12, 2019, from https://www.larousse. fr/dictionnaires/francais

Molina Martínez, L. (2001). Análisis descriptivo de la traducción de los culturemas árabe-español. Tesis doctoral. Departament de Traducció i d’Interpretació Universitat Autònoma de Barcelona.

Molina Martínez, L., & Hurtado Albir, A. (2002). Translation techniques revisited: A dynamic and functionalist approach. Revue Meta, 47(4), 498–512. Retrieved April 12, 2019, from http://id.erudit.org/iderudit/008033ar

Newmark, P. (1982). Approaches to translation. Oxford: Pergamon Press.

------. (1988). A textbook of translation. New York: Prentice Hall International.

Vinay, J.-P., & Darbelnet, J. (1995). Comparative stylistics of French and English. Amsterdam: John Benjamins Publishing.

Real Academia Española. (2018). Diccionario de la lengua española. Retrieved March 25, 2019, from https://dle.rae.es/?w=diccionario

Sangsuk, S. (2002). Veneno (I. Sancho, Trans.). Barcelona: Random House Mondadori.

Torre, E. (2001). Las transferencias lingüísticas. Teoría de la traducción literaria. Teoría de la literatura y literatura comparada. Madrid: Editorial Síntesis.