เรื่องเพศกับการเซ็นเซอร์: การแปลภาษาต้องห้ามในนวนิยาย เรื่อง Fifty Shades of Grey ของ E. L. James

Main Article Content

พันศักดิ์ อัศววงศ์เกษม

บทคัดย่อ

การศึกษา "เรื่องเพศกับ การเซ็นเซอร์: การแปลภาษาต้องห้ามในนวนิยาย เรื่อง Fifty Shades of Grey ของ E. L. James" เป็นการศึกษาในเชิงพรรณนา (descriptive study) ตามแนวทางวัฒนธรรมศึกษาในศาสตร์การแปล โดยการมองหาปัจจัยด้านอุดมการณ์และอำนาจจากสถาบันต่างๆ ที่ส่งผลต่องานแปลบนสมมติฐานที่เชื่อว่าการแปลเป็นกระบวนการที่ถูกควบคุมด้วยอำนาจของผู้กระทำการ (agency) และความพยายามในการควบคุมด้วยจริยธรรมและบรรทัดฐานของงานแปล ผลที่เกิดจากแก้ปัญหาที่แสดงให้เห็นผ่านงานแปลสามารถสะท้อนถึงอุดมการณ์ต่างๆ ที่ควบคุมถ้อยคำในงานแปลนั้นเรียกว่าการเซ็นเซอร์ด้วยกลวิธีทางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเพศ ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและถูกปกปิดมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งในสังคม โดยผู้วิจัยได้ทำการทบทวนทฤษฎีการแปล งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาต้องห้ามเรื่องเพศและการเซ็นเซอร์ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทย แล้วจึงทำการวิเคราะห์แนวทางการเซ็นเซอร์ภาษาต้องห้ามเกี่ยวกับเรื่องเพศในงานแปล โดยคัดเลือกตัวบทที่ปรากฏภาษาต้องห้ามจากต้นฉบับ เรื่อง Fifty Shades of Grey ของ E. L. James และบทแปลซึ่งแปลโดยนันทพร ปีเลย์ ร่วมกับข้อมูลที ่ได้จากการสัมภาษณ์นักแปลตามแนวทางที่ได้ศึกษาไว้ จากการศึกษา พบว่า กลวิธีในการเซ็นเซอร์ภาษาต้องห้ามเรื่องเพศที่พบในบทแปลเรื่อง ฟิฟตี้เชดส์ ออฟเกรย์ ได้แก่ การละความ การแปลบางส่วน การแทนที่ การแปลเพิ่ม รวมทั้งการลดระดับความแรงหรือการใช้คำรื่นหู ซึ่งเป็นผลจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวนักแปล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้กระทำการที่มีอำนาจในอุตสาหกรรมการพิมพ์ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกตัวนักแปล อันได้แก่ กฎหมาย สำนักพิมพ์ และบรรณาธิการ อำนาจต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์หลักของสังคมซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาหลักของสังคมไทย

Article Details

บท
บทความ

References

กฤษดา เกิดดี. (2548). การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี : ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส) มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่งานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดานีนเวิร์ม. (2556). Fifty Shades of Grey : อี แอล เจมส์ (E. L. James) – เมื่อฉบับแปลไทย …ไม่ได้หวือหวาอย่างที่หลายคนรอคอย. [ออนไลน์]. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2558, จาก https://danineworm.wordpress.com/2013/05/12/fifty-shades-ofgrey/

เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2541). นวนิยายและเรื่องสั้น การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา.

ธนะชัย มีผดุง. (2539). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการผลิตและเผยแพร่วัตถุหรือสิ่งของลามก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมทัล บริดเจส. (2558). Fifty Shades of Grey ฟิฟตี้ เชดส์ ออฟ เกรย์[เรื่องย่อ/ตัวละคร/ตัวอย่างหนัง]. [ออนไลน์]. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2558, จาก http://www.metalbridges.com/fifty-shades-of-grey

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2554). การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศในสังคมไทย. ใน การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.) และส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สุชาติ โสมประยุรและคณะ. (2535). หนังสือเรียนพลานามัย พ503 พ504 สุขศึกษา: ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร.

อุษณีย์ ธโนศวรรย์. (2554). สังคมไทยกับความรู้เรื่องเพศ. ใน การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อมรา พงศาพิชญ์. (2548). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Allan, K. & Burridge, K. (1991). Euphemism & Dysphemism: Language Used as Shield and Weapon .New York: Oxford University Press.

------. (2006). Forbidden Words: Taboo and Censoring of Language. Cambridge University Press.

Bandia, P., & Milton, J. (Eds). (2009). Introduction: Agents of translation and translation studies. In Agents of Translation (pp. 1-18). Amsterdam/Philadelphia: John Benjamin.

Basnett, S. & Lefevere, A. (1990). Translation, History, and Culture. London; New York: Pinter Publishers.

Bassnett, S. (1991). From comparative literature to translation studies. In Comparative literature: A critical introduction (pp. 138-161). London & New York: Routledge.

BDSM. (n.d.). Retrieved 2015, 1 December, from https://en.wikipedia.org/wiki/BDSM

Billiani, F. (2007). Modes of Censorship and Translation: National Contexts and Diverse Media. London: Routledge.

Brownlie, S. (2007). Situating Discourse on Translation and Conflict. In Social Semiotics, 2(17), 135-150.

Davoodi, Z. (2009). On the Translation of Taboos. Retrieved from https://www.translationdirectory.com/articles/article2052.php

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. London & New York: Longman Group limited.

Hatim, B., & Mason, I. (1997). The translator as communicator. London & New York: Routledge.

Hatim, B., & Munday, J. (2010). Translation: An advance resource book. London & New York: Routledge.

Helgregen, Sofia. (2005). Tracing Translation Universals and Translator Development by Word Aligning a Harry Potter Corpus. (Dissertation). Link¨opings universitet. Retrieved from http://www.divaportal.org/smash/get/diva2:20644/FULLTEXT01.pdf

James, E. L. (2012). Fifty shades of Grey. New York: Vintage Books.

Lefevere, A. (1992). Translation, rewriting and the manipulation of literary frame. London & New York: Routledge.

------. (1992). Translating literature: Practice and theory in a comparative. Literature Context. New York: MLA.

Leetrakul, D. (1978). Linguistic Taboo in Thai. Unpublished Master’s thesis. Bangkok: Mahidol University.

Santaemilia, J. (2005). Gender, Sex, and Translation: the Manipulation of Identities. Machester: St. Jerome Publishing.

Vossoughi, H. & Hosseini, Z.E. (2012). Norms of Translating Taboo Words and Concepts from English into Persian after the Islamic Revolution in Iran. In Journal of Language and Translation. 3(2.5). 1-6.