ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคสื่อเกี่ยวกับอาชญากรรมกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

Main Article Content

ชฎาพร ทรงกำพล
เสกสัณ เครือคำ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเด็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยปรากฏตามสื่อเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากในปัจจุบันประชาชนสามารถบริโภคสื่อได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้สามารถจับตามองคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที แต่ในทางกลับกัน การนำเสนอที่รวดเร็ว อาจมีการกลั่นกรองที่น้อยลง ทำให้เกิดความผิดพลาดและทำให้เสียภาพลักษณ์ได้ ฉะนั้น หากประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมแล้ว จะทำให้คนไม่เคารพหรือเกรงกลัวต่อบทลงโทษทางกฎหมาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการบริโภคสื่อ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคสื่อกับความเชื่อมั่นของประชาชน และ (3) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและประสบการณ์ในกระบวนการยุติธรรม มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน ซึ่งได้มาจากการใช้การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและแบบกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า คนส่วนใหญ่ในกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคข่าว/รายการ/บทความ/สารคดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม จะบริโภค 2-3 วัน/สัปดาห์ และใช้เวลาในการบริโภคน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคละคร/หนัง/นิยายแนวสืบสวนสอบสวนหรืออาชญากรรม คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้  จะนาน ๆ ดูที โดยใช้เวลาในการบริโภค 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างจะบริโภคข่าวอาชญากรรมผ่านช่องทางโทรทัศน์และวิทยุมากที่สุด ส่วนละคร/หนัง/นิยายแนวสืบสวนสอบสวนหรืออาชญากรรม กลุ่มตัวอย่างจะบริโภคผ่านสื่อออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์มากที่สุด ซึ่งจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดนี้ มีการบริโภคสื่อผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด รองลงมาด้วยการบริโภคผ่านโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ลักษณะที่พัก และประสบการณ์ในกระบวนการยุติธรรมแตกต่างกัน มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานการวิจัย และความถี่ในการบริโภคสื่อ การบริโภคสื่อผ่านช่องทางโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ส่วนระยะเวลาในการบริโภคสื่อไม่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ข้อเสนอแนะที่สำคัญในงานวิจัยครั้งนี้ คือ หน่วยงานควรใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ของตนเอง อีกทั้งตัวสื่อต้องมุ่งผลิตเนื้อหาให้มีข้อมูลอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ และเกิดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญามากขึ้น

Article Details

How to Cite
ทรงกำพล ช., & เครือคำ เ. . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคสื่อเกี่ยวกับอาชญากรรมกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 15(2), 17–42. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/254028
บท
บทความวิจัย

References

กัณณวัน ฟิลลิปส์. (2560). โครงการประเมินประสิทธิภาพสถานีตำรวจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคไซท์.

The 101. word. (2564). ฟื้นวิกฤตศรัทธา ถึงเวลาปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม. ค้นวันที่ 10 มกราคม 2565, จาก https://www.the101.world/thai-justice-system-reform/

ยศพนต์ สุธรรม. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำ กลางฉะเชิงเทรา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

รัชดาทิพย์ ตั้งวิเศษไพบูลย์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และแนวโน้ม พฤติกรรม ของประชาชนที่มีต่อศาลปกครอง. วารสารวิชาการ วารสารศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 9(1). 246-275.

รัชทพงศ์ เตี้ยสุด. (2544). ภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในสายตาของผู้สื่อข่าวอาชญากรรม หนังสือพิมพ์รายวัน. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรพงษ์ วรสูตร. (2551). การสร้างความเชื่อมั่นทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

ปี พ.ศ.2550. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศยามล เอกะกุลานันต์. (2550). สภาพแวดล้อมภายในทีมและภายนอกทีมและกระบวนการทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของทีมข้ามสายงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. และสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2562). สำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหวของคนไทย ปี 2562. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.nbtc.go.th/News/Information/ 39402.aspx

Doyle, A. (2004). Arresting images : Crime and policing in front of the television camera. University of Toronto Quarterly, 7(1), 376-378.

Dowler, K. (2003). Media consumption and public attitudes towar crime and justice : The relationship between fear of crime, punitive attitudes, and perceived police effectiveness. Journal of Criminal Justice and Popular Culture, 10(2), 109-126.

Werner, E. (2015). Media effects on attitudes towards the criminal justice system. East Tennessee State University. Undergraduate Honors Thesis. East Tennessee State University.

Leechaianan, Y., & Khruakham, S., & Hoover, L. T. (2012). Public confidence in Thailand’s legal authorities. International Journal of Public Science & Management, 14(3), 246-263.