มาตรการทางกฎหมายและการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์คดีอาญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากฎหมายการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอในประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย (2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอของประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน เปรียบเทียบกับประเทศไทย และ (3) เสนอมาตรการทางกฎหมายและการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์คดีอาญา
ผลการวิจัย (1) การศึกษากฎหมายการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอ พบว่า ประเทศอังกฤษบัญญัติกฎหมายเพื่อให้อำนาจจัดเก็บดีเอ็นเอและกำหนดหลักเกณฑ์จำแนกตามฐานความผิดและวิธีการจัดเก็บตามหลักสิทธิมนุษยชน สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาให้อำนาจแต่ละมลรัฐตรากฎหมายขึ้นเอง โดยมีกฎหมายหลักบัญญัติรองรับการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจัดเก็บดีเอ็นเอโดยปราศจากกฎหมายแต่อาศัยอำนาจสั่งการจากรัฐ ส่วนประเทศไทยจัดเก็บดีเอ็นเอตามหลักความยินยอมเท่านั้น (2) การวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายการจัดเก็บดีเอ็นเอ อำนาจการจัดเก็บดีเอ็นเอ หลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอ และการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอพบว่า ประเทศอังกฤษได้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายให้บังคับจัดเก็บดีเอ็นเอได้เพื่อประโยชน์ของรัฐในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายและหน่วยงานเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล 3 ระดับ คือ ระดับท้องถิ่น ระดับมลรัฐ และระดับชาติ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถบังคับจัดเก็บดีเอ็นเอจากประชาชนตามนโยบายรัฐโดยคำนึงถึงเป้าหมายในการจัดเก็บเป็นสำคัญ ขณะที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดที่สนับสนุนให้นำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมแต่ยังไม่สามารถนำมาใช้อย่างเท่าเทียมกันทุกคดี และ (3) ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมายและการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาติเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์คดีอาญามี 3 ประการ คือ (1) ด้านการให้อำนาจจัดเก็บดีเอ็นเอนั้น ควรบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเทียบเท่ากับประโยชน์ของรัฐในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ด้านหลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอนั้น ควรขยายหลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอจากเนื้อตัวร่างกายให้มีความยืดหยุ่น หากมองว่าการจัดเก็บดีเอ็นเอจากเนื้อตัวร่างกายของบุคคลเพียงเล็กน้อยกระทบกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลมากกว่าประโยชน์ของรัฐ การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บดีเอ็นเอย่อมมีข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอเพื่อการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์คดีอาญา และ (3) ด้านการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอแห่งชาตินั้น ควรบัญญัติกฎหมายเพื่อรองรับการสืบค้นและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกระบวนการยุติธรรม แต่ความคิดเห็นที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความในวารสารกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
References
Criminal Records Division, Royal Thai Police. (2022). Agency structure. Accessible from
https://criminal.police.go.th/ structuralunit.php.
Ploypailin Bunthawatchak. (2015). Collection and use of offender DNA in the United States: A case study for Thailand. Ramkhamhaeng Journal Forensic Science Edition, 4,(2), 17-31.
Ratchanee Taeng-on. (2016).Legal measures for developing the national DNA database and privacy rights: guidelines for enacting laws for enforcement in Thailand. Journal of Politics, Administration, and Law, 9,(2),579-611.
Ratchanee Taeng-on. (2019). Criminal justice process and national DNA database: experiences of EU member countries. Journal of Politics, Administration, and Law, 8,(1),459-476.
Riccardo Sabatini. (2022). How to read the genome and build a human being. Accessible from
Salisa Phrommakrit. (2022). Storing DNA substances for import into a database: Studying human rights issues. Academic Journal of Criminology and Forensic Science, 38.
Sompong Techasomboon. (2022). Forensic science and the promotion of justice. Accessible from http://www. dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561
Tassanee Kamkhaman. (2022). Protection of personal rights and freedoms: Study of the case of DNA evidence storage. Accessible from https://tdc.thailis.or.th/tdc.
Thai PBS. (2022). Unraveling the Koh Tao Case. Accessible from
https://www.youtube.com/watch?v=g9UMdDBreW Q&t =2340s.
Wariya Thongpagde. (2022). Development of forensic evidence systems in criminal cases, criminal justice. (Doctor of Philosophy Thesis, Forensic Science Department Faculty of Science Silpakorn University).
Wipu Wimonset. (2020). Genetic Material Database and the necessity of creating a genetic
material database in Thailand. (Doctor of Philosophy Thesis, Forensic Science
Department Faculty of Science Silpakorn University).
WR Webster Jr. (2000). DNA database statutes & privacy in the information age. Health Matrix:
The Journal of Law Medicine, 10,(1),119.