กลยุทธ์และรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษา ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Keywords:
กลยุทธ์, รูปแบบ, การบริหารสถาบันอุดมศึกษาAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่ในภาพรวมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2) เพื่อเสนอกลยุทธ์และรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาคุณภาพและการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้อย่างสอดคล้องกับอัตลักษณ์และความต้องการของท้องถิ่น และเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจและลดระดับสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์ SWOT การประเมินตรวจสอบและเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การสัมภาษณ์ และการประชุมสนทนากลุ่ม และวิธีการศึกษาเชิงปริมาณด้วยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่ในภาพรวมของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ อยู่ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมและมีที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอาเซียนที่สำคัญที่มีพื้นที่และมีลักษณะพหุวัฒนธรรมที่ใกล้กัน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย 2) กลยุทธ์และรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้วิจัยได้เสนอ 39 กลยุทธ์ และ 10 รูปแบบสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจากการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ภาพรวมส่วนใหญ่มีความเห็นว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีระดับความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง
Abstract
The objectives of this study were 1) to investigate and analyze the environment of the area in the overall of higher education institutions in the three southern border provinces. 2) To propose appropriate strategies and models for administration of higher education institutions in the three southern border provinces which are administrative tools that assist quality development and management of higher education institutions to be suitable for local self-identities and meet local needs. These proposed strategies and models are also a mechanism that promotes understanding and reduces severity of the unrest situation in the area. The researcher used the qualitative methods through documentary research, SWOT analysis, evaluations and recommendations made by experts, interviews and focus group discussions and used the quantitative methods through a survey of opinions from sample. The results of the study revealed that 1) the environment of the area in the overall of higher education institutions in the three southern border provinces are under a multi-cultural and have the located appropriate to build relationships and partnerships with higher education institutions in ASEAN countries which have multi-cultural together such as Malaysia, Singapore, Indonesia. 2) For appropriate strategies and models for administration of higher education institutions in the three southern border provinces. The researcher proposed 39 strategies and 10 models for administration of higher education institutions in the three southern border provinces. From a survey of opinions from sample in the quantitative research, it was found that the overall levels of suitability of these strategies and models were at a high level and feasibility of these strategies and models were at a high level and a moderate level.