การเมืองในนโยบายสื่อสาธารณะขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย Politics in public media policies of the Thai public broadcasting service

Main Article Content

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงการเมืองในกระบวนการนโยบายสื่อสาธารณะและการจัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และ เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นสื่อสาธารณะในสังคมไทย โดยใช้แนวคิดการสื่อสารทางการเมืองในสังคมสารสนเทศของ  Habermas โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายสื่อสาธารณะ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสื่อสาธารณะ กลุ่มตัวแทนผู้ชมและผู้ฟังรายการ และกลุ่มสื่อมวลชนและนักวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า การนำสถานีโทรทัศน์ ยู เอช เอฟ หรือสถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้กลับคืนมาจากผลการยกเลิกสัญญามาแปลงสภาพเป็นสื่อสาธารณะหรือที่รู้จักกันในชื่อของ “สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยทีวีสาธารณะ” เป็นทางออกที่มีความเป็นไปได้สูงสุดของรัฐบาลยุคเผด็จการที่มาจากการรัฐประหาร จึงย่อมต้องตระหนักว่าสื่อสาธารณะไม่ได้ถูกสร้างจากข้างล่างที่ประชาชนต้องการให้ได้มาซึ่งสื่อสาธารณะ แต่เกิดจากชนชั้นนำซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือนักเทคนิคที่เชื่อว่าตนเป็นผู้รู้มากกว่าผู้อื่นซึ่งสามารถเข้าถึงกระบวนการเจรจาต่อรองในระบบการเมืองได้ แม้สื่อสาธารณะจะมีความพยายามเป็นสื่อที่ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของรัฐหรือกลุ่มทุน แต่ความพยายามของสื่อสาธารณะที่จะเป็นอิสระจากกลุ่มทุนทำให้มีความจำเป็นต้องพึ่งพารายได้สาธารณะเป็นหลักซึ่งเป็นรายได้ของรัฐ จึงมีความเสี่ยงที่รัฐจะเข้ามาแทรกแซงจนนำไปสู่ทางสองแพร่งระหว่างการแทรกแซงของรัฐที่สามารถนำไปสู่การเซ็นเซอร์ด้วยตนเองของสื่อและการมีส่วนร่วมทางการเมืองจากประชาชนที่ไม่เพียงพอเนื่องจากไม่ได้มีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของสื่อจากการมีส่วนร่วมก่อตั้งทีวีสาธารณะมาตั้งแต่แรก

Article Details

Section
Articles