นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบองค์รวม A Holistic Policy for Stimulating Creative Economy

Main Article Content

กฤษดา แพทย์หลวง

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นความพยายามในการนำเสนอนโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทยอย่างรอบด้าน ซึ่งจะยังผลในการลดความสับสนเชิงนโยบายที่อาจมีอยู่ จากการที่รัฐบาลให้คำจำกัดความของคำว่า ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ที่เน้นเพียง ‘การสร้างความคิดสร้างสรรค์’ และการผูกติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้กับอุตสาหกรรมเพียง 15 กลุ่ม ทั้งนี้ งานวิจัยได้เสนอคำจำกัดความของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และแบบจำลองกระบวนการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบองค์รวม ที่สะท้อนถึงและ  วัดความเป็นไปของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมให้ได้มากที่สุด โดยแบบจำลองนี้ผนวกกระบวนการย่อย 2 กระบวนการที่ขาดไม่ได้ในการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น คือ กระบวนการสร้างความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี และกระบวนการใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์เข้าไว้ในกระบวนการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยรวม โดยมีนวัตกร (entrepreneur) เป็นศูนย์กลางในการนำเอาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นในกระบวนการแรก มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในรูปนวัตกรรมในกระบวนการที่สอง และรัฐบาล สถาบันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนนโยบายต่าง ๆ สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการย่อยทั้งสองกระบวนการได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ดังนั้น นัยยะเชิงนโยบายที่ตามมา ได้แก่ การกำหนดกรอบนโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบรอบด้าน ที่ไม่เน้นเพียงการสร้างความคิดสร้างสรรค์ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพียง 15 กลุ่ม อีกทั้งยังเปิดกว้างสำหรับพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์และทางสังคม ที่จะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนชี้ถึงนัยยะของการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาลในปัจจุบันและสถาบันเกี่ยวเนื่องที่จะถูกตั้งขึ้น เพื่อให้มีบูรณาการกันอย่างดีกับนโยบายและสถาบันภายใต้ระบบนวัตกรรมดังเดิมที่มีอยู่แล้ว และเป็นไปในทางที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ขยายตัวในประเทศไทยอย่างรวดเร็วและเป็นไปในวงกว้างที่สุด

Article Details

Section
Articles