The Role of Knowledge Management and Organizational Learning in Mediating Transformational Leadership and Innovation Performance: Social Capital as the Moderator
Keywords:
Transformational leadership, Knowledge management, Organizational learning, Innovation performance, Social capitalAbstract
This study examines the influences of transformational leadership on organizational innovation performance through the dynamic capabilities of knowledge management and organizational learning. It also investigates whether social capital moderates the effect of transformational leadership, knowledge management, and organizational learning on the dependent variables. These influences are tested empirically in large and medium manufacturing firms in Thailand, based on a sample of 400 manufacturing firms conducted through a questionnaire survey. The causal relationship model is tested through structural equation modeling (SEM). The results reveal that: 1) transformational leadership has a positive influence on knowledge management capability; 2) transformational leadership has a positive influence on organizational learning capability, both directly and indirectly through knowledge management capability; 3) knowledge management capability has an insignificantly direct effect on innovation performance, but it has a positive influence on innovation performance through organizational learning capability; 4) organizational learning capability has a positive influence on innovation performance; and 5) social capital moderates the effect of transformational leadership, knowledge management, and organizational learning on the dependent variables.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางนวัตกรรมขององค์กร โดยส่งผ่านทางความสามารถในการจัดการความรู้และการเรียนรู้ขององค์กร และเพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลกำกับของทุนทางสังคมที่มีต่ออิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และการเรียนรู้ขององค์กรที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ในประเทศไทย จำนวน 400 โรงงาน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในโมเดลวิจัยใช้สถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถในการจัดการความรู้; (2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร โดยมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านความสามารถในการจัดการความรู้; (3) ความสามารถในการจัดการความรู้ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางนวัตกรรม แต่มีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร; (4) ความสามารถในการเรียนรู้ขององค์การมีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางนวัตกรรม; และ (5) ทุนทางสังคมปรับขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการจัดการความรู้ และการเรียนรู้ในองค์กรที่มีต่อตัวแปรตาม