การพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำชาติพันธุ์ด้วยสุนทรียสาธก

Authors

  • ปริวัตร เปลี่ยนศิริ
  • วาสิตา บุญสาธร

Keywords:

สุนทรียสาธก การสืบทอดตำแหน่ง อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผู้นำชาติพันธุ์

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาชุมชนเพื่อประยุกต์ใช้สุนทรียสาธกในการเสนอแผนพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำที่พึงประสงค์ในชุมชนต้นแบบอนุรักษ์ป่าที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะผู้นำชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าของชุมชนที่มี  อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ 2) เพื่อศึกษาลักษณะผู้นำชุมชนที่พึงประสงค์ในการอนุรักษ์ป่าของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์  3) เพื่อเสนอแผนพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำที่พึงประสงค์ในชุมชนต้นแบบอนุรักษ์ป่าที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์

             การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกด้วยการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเพื่อค้นหาสิ่งดีๆในชุมชนจากกลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอ ชุมชนบ้านแม่คองซ้าย มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยวิธีการก้อนหิมะ ได้ผู้มีส่วนร่วม 7 คน จากนั้นนำข้อมูลมาตรวจสอบวิเคราะห์และพัฒนาแผนด้วยการประยุกต์ใช้สุนทรียสาธก (AI: Appreciative Inquiry) ซึ่งอยู่ในบริบทของภูมิสังคมที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า กิจกรรม “การทำแนวกันไฟ” สามารถนำสิ่งที่ค้นพบไปพัฒนาแผนด้วยกระบวนการ Whole-system 4-D Dialogue ประกอบด้วย  1) Discovery-การค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดของประสบการณ์ด้านบวก 2) Dream-การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ 3) Design-การออกแบบกลยุทธ์ โครงสร้าง และกระบวนการ 4) Destiny-การไปให้ถึงเป้าหมาย ในชื่อโครงการ 2C “Connector Community : ชุมชนนักประสาน” เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การจากองค์การที่เป็นทางการสู่องค์กรชุมชนที่ไม่เป็นทางการ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ได้แก่ สุนทรียสาธก การสืบทอดตำแหน่ง และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ นำสู่การแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้นำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน  

Downloads

How to Cite

เปลี่ยนศิริ ป., & บุญสาธร ว. (2015). การพัฒนากระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำชาติพันธุ์ด้วยสุนทรียสาธก. NIDA Development Journal, 55(3), 59–86. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/39730