หญ้าแฝกสำหรับป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไทย

Authors

  • บุญจง ขาวสิทธิวงษ์

Keywords:

หญ้าแฝก การกัดเซาะชายฝั่ง ชีววิศวกรรม

Abstract

                     วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าประเทศไทยประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหลายแห่งทั้งด้านอ่าวไทยและด้านทะเลอันดามัน รวมทั้งชายฝั่งแม่น้ำโขงชายแดนไทยด้วย การป้องกันแก้ไขทั้งในอดีตและปัจจุบันเน้นการใช้วิศวกรรมโครงสร้างเป็นสำคัญ โดยมีการสร้างแนวป้องกันด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรม 97.8 กม. ในขณะที่ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางยาวตลอดแนว 3148.23กม. ถูกกัดเซาะในระดับปานกลางและรุนแรงรวม 830.07กม. ดังนั้นยังต้องสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอีกเป็นระยะทางยาวมาก การศึกษานี้ใคร่เสนอให้ส่งเสริมปลูกหญ้าแฝกร่วมกับ สนทะเล หรือมะพร้าว รวมทั้งพืชท้องถิ่นประเภทอื่นเป็นมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบชีววิศวกรรม ซึ่งในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศหมู่เกาะต่างๆใช้มาตรการดังกล่าวแล้วได้ผลดี หรือใช้หญ้าแฝกเสริมโครงสร้างทางวิศวกรรมด้วยก็ได้และใคร่เสนอให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้นำในเรื่องนี้

Downloads

How to Cite

ขาวสิทธิวงษ์ บ. (2015). หญ้าแฝกสำหรับป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไทย. NIDA Development Journal, 55(3), 174–194. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/39734