Changes in Personnel Administration in the Thai Public Sector: the Resource-Based View and the Sustainable Perspective

Main Article Content

Nisada Wedchayanon

Abstract

Abstract

The purpose of this paper was to explore whether the changes in Thai public personnel administration since 1997 have met the criteria of sustainability; that is, building trust and accountability, transparency, and organizational learning. Data were mainly collected from official documents and surveys. Survey data were collected through four point Likert-scale questionnaires from 4 groups. The first two groups were 400 undergraduate students and 400 master degree students. The last two groups were 400 subjects in Bangkok and 500 working people, of which 250 were employed in the public sector and 250 in the private sector. The findings indicate a gap in the public personnel administration that needs to be filled, especially regarding the image of public organizations and the expected behavior of public officers. The crucial proposition tied to the resource-based view and related research issues is to make the public sector an employer of choice and to sustain the expected behavior of the public personnel.

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า การเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานบุคคลของภาครัฐในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 นั้น นำไปสู่ความยั่งยืนของภาครัฐหรือไม่ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนและความพร้อมรับผิด ประการที่สอง ความโปร่งใส และประการที่สาม การเรียนรู้ขององค์การ ในบทความนี้ ผู้เขียนได้ทำการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและทำการสำรวจด้วยข้อคำถามแบบลิเคิร์ทสเกล โดยใช้มาตราส่วน 4 ระดับ และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จำนวนกลุ่มละ 400 คน กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 400 คน และกลุ่มคนทำงาน จำแนกเป็นบุคลากรที่ทำงานในภาครัฐจำนวน 250 คนและบุคลากรที่ทำงานในภาคเอกชนจำนวน 250 คน ทั้งนี้จากผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างในการบริหารงานบุคคลของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์การและพฤติกรรมของบุคลากร จากผลการวิจัยดังกล่าวนำมาสู่ข้อเสนอแนะที่ยึดโยงจากมุมมองในเชิงฐานทรัพยากรขององค์การว่า การบริหารงานบุคคลที่นำไปสู่ความยั่งยืนนั้น จะต้องทำให้องค์การภาครัฐเป็นองค์การแห่งทางเลือกและต้องส่งเสริมให้ข้าราชการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์


Article Details

Section
Articles