การรับรู้ภาพลักษณ์ของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ

Main Article Content

นลินี พานสายตา
นิตินัย รุ่งจินดารัตน์
ปรีชา วิจิตรธรรมรส

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งการรับรู้ของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐแต่ละแห่งผ่านการรับรู้ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ตัวอย่างในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 384 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์ความสมนัย (Correspondence Analysis)

                ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยตรงตามภาพลักษณ์ที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งเมื่อจำแนกนักศึกษาเป็นรายมหาวิทยาลัย และเมื่อพิจารณาจากนักศึกษาทั้งหมดในภาพรวม โดยมีระดับการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่สูงกว่า ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า นักศึกษามีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค่อนข้างสูง ส่วนภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น นักศึกษามีการรับรู้ต่ำกว่าภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ และนักศึกษามีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย ว่ามีความสัมพันธ์กันต่ำ ยกเว้น ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่นักศึกษารับรู้ว่ามีความสัมพันธ์กันสูง

Article Details

How to Cite
พานสายตา น., รุ่งจินดารัตน์ น., & วิจิตรธรรมรส ป. (2016). การรับรู้ภาพลักษณ์ของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ. NIDA Development Journal, 56(1), 136–157. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/54944
Section
Articles