การรับรู้สื่อโฆษณาที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคยาพาราเซตามอลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
การรับรู้สื่อโฆษณา, ทัศนคติ, พฤติกรรม, กระบวนการตัดสินใจซื้อAbstract
วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการรับรู้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์โดยเฉพาะแบรนด์ซาร่าและแบรนด์ ไทลีนอลในแง่การรับรู้ต่อคุณภาพของยาพาราเซตามอล และกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus group) และวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาการรับรู้สื่อโฆษณาที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคยาพาราเซตามอล โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริโภคจำนวน 400 คน
ผลวิจัยสนทนากลุ่มพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าแบรนด์ไทลีนอล มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการ เช่น ลดไข้ มากกว่าแบรนด์ซาร่า ซึ่งมักจะทานเฉพาะมีอาการปวดหัวและปวดเมื่อยร่างกาย แต่โฆษณาของซาร่าสร้างความจดจำได้มากกว่าในแง่ของสโลแกน สีบรรจุภัณฑ์ และ แบรนด์แอมบาสเดอร์ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุดคือ ครอบครัวและเภสัชกร ความมีชื่อเสียงของแบรนด์และแบรนด์แอมบาสเดอร์มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อโดยพบว่า แบรนด์ซาร่าและแบรนด์ไทลีนอลจะเป็นที่นิยมมากกว่าแบรนด์อื่นๆ ผลวิจัยเชิงสำรวจ พบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคยาพาราเซตามอล แต่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคยาพาราเซตามอลที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การรับรู้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์มีความสัมพันธ์บางส่วนในระดับต่ำกับทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคยาพาราเซตามอลของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญ 0.01