การสื่อสารความเสี่ยงภัยพิบัติด้านอัคคีภัยของกลุ่มผู้สูงวัยไทย

Authors

  • ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์
  • ปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล

Keywords:

ความเสี่ยงอัคคีภัย, การสื่อสารความเสี่ยง, การรับรู้ความเสี่ยง, ผู้สูงวัยไทย

Abstract

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยช่องทางในการรับสารความเสี่ยงกับแรงจูงใจในการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเสี่ยง ได้แก่ ประสบการณ์ในการเผชิญกับเหตุการณ์อัคคีภัย ระดับการศึกษา รายได้ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และความขัดแย้งกับสมาชิกชุมชนและครอบครัว โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงวัยจำนวนทั้งสิ้น 125 คน อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมชุมชนที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการป้องกันความเสี่ยงแตกต่างกัน และพบว่า ช่องทางการสื่อสารที่สามารถสร้างแรงจูงใจในการป้องกันความเสี่ยงได้สูงสุด คือ การเรียนรู้จากการเข้าร่วมฝึกอบรบ การประชุมชนร่วมกับกลุ่มคนต่าง ๆ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ความเสี่ยง ได้แก่ ปัจจัยด้านการศึกษา ประสบการณ์ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และความขัดแย้งกับสมาชิกในครอบครัว จากผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอการพัฒนารูปแบบการสื่อสารแบบร่วมมือที่ก่อให้เกิดเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนี้คุณลักษณะของผู้สูงวัยควรนำมาพิจารณาในการพัฒนารูปแบบการสื่อสาร

Downloads

How to Cite

เด่นไพบูลย์ ฉ., & จันทร์ใหม่มูล ป. (2016). การสื่อสารความเสี่ยงภัยพิบัติด้านอัคคีภัยของกลุ่มผู้สูงวัยไทย. NIDA Development Journal, 56(3), 194–220. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/66469