เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

รายละเอียดการเตรียมบทความ

วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

          วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานในลักษณะบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) และบทความปริทัศน์ (Review Article) แก่นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ขอบเขตของผลงานที่ตีพิมพ์

          วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พิจารณาเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย ที่มีสาระเกี่ยวเนื่องกับ

- การศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ด้านศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ (Education)

- นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Innovation and Technology in Education)

- การบริหารการศึกษา (Educational Administration)

- หลักสูตร (Curriculum)

- การจัดการเรียนการสอน (Classroom Management, Instruction)

- การเรียนรู้ (Learning)

- การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood, Kindergarten, Pre-school Education)

- ประถมศึกษา (Elementary Education)

- มัธยมศึกษา (Secondary Education)

- การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research)

- การวัดผลและประเมินผล (Assessment and Evaluation)

- สถิติทางการศึกษา (Educational Statistics)

- ปรัชญาและศาสนาการศึกษา (Educational Philosophy and Religion)  

- จิตวิทยาการศึกษา (Psychology)

- การแนะแนว (Guidance)

- การศึกษาพิเศษ (Special Education)

- การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance in Education)

- การพัฒนาวิชาชีพครู (Teacher Professional Education)

- การฝึกอบรมและการศึกษาผู้ใหญ่ (Training and Adult Education)

- การศึกษาสำหรับการพัฒนาชุมชนและสังคม (Education for Community and Social Development)

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)

- สาขาวิชาอื่น ๆ ในสหวิทยาการด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (Others involving educational integration)

การพิจารณาบทความ

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน โดยผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review)

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการ (Academic Article)

งานเขียน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไขปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเทอร์เน็ตประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางแก้ไข

  1. บทความวิจัย (Research Article)

เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดำเนินการวิจัย

  1. บทความปริทัศน์ (Review Article)

งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้าง และทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อพิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

หลักเกณฑ์ในการส่งบทความ

  1. บทความที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์จากวารสารอื่น ๆ
  2. เนื้อหาในบทความต้องไม่คัดลอก ลอกเลียน หรือไม่ตัดทอนจากบทความอื่นโดยเด็ดขาด (การละเมินลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น)
  3. ผู้เขียนต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบการส่งบทความของ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  4. การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จะพิจารณาเฉพาะบทความที่ได้รับการประเมินให้ตีพิมพ์เผยแพร่จากผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น
  5. กรณีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และชี้แจงการแก้ไขต้นฉบับดังกล่าว มายังกองบรรณาธิการ

การพิจารณาบทความ

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review)

การติดต่อส่งต้นฉบับ

ส่งเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (Microsoft Word ไฟล์นามสกุล docx) ผ่านระบบ Online Submission ทางเว็บไซต์วารสาร https://so04.tci-thaijo.org/index.php/RESEARCH_INNOVTION_IN_EDUCATION/login  เมื่อทางกองบรรณาธิการ ได้รับบทความจะติดต่อกลับตามข้อมูลที่ให้ไว้

  *ท่านสามารถดาวโหลด Template ได้ที่  ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1uNmrtxTHJWQWcyRGAkkEkFyzxQYzye_L?usp=sharing  

**ทั้งนี้เจ้าของบทความ ต้องกรอกรายละเอียดสมัครสมาชิก สังกัด อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ ให้ถูกต้อง

กำหนดระยะเวลาการเปิดรับต้นฉบับ

สามารถจัดส่งต้นฉบับบทความวิจัยหรือบทความวิชาการมาให้ทางกองบรรณาธิการ ฯ พิจารณาได้ตลอดทั้งปี  

 

Publication Ethics

วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครมีมาตรฐานทางจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ ดังนี้

จริยธรรมของบรรณาธิการ

1.บรรณาธิการมีหน้าที่ พิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร

2.บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและพิจารณาความถูกต้องของบทความร่วมกับกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการตีพิมพ์

3.บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความ และบุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
4. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

5.บรรณาธิการต้องรักษาความลับของผู้เขียน

6.บรรณาธิการมีหน้าที่รักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพอยู่เสมอ

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

1.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักถึงความเชี่ยวชาญตามศาสตร์ของตนเองในการรับประเมินบทความ

2.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน

3.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความกับงานตีพิมพ์อื่นๆ

4.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินและให้ข้อเสนอแนะตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการโดยปราศจากอคติ

5.ผู้ทรงคุณวุฒิควรตรงต่อเวลาในการส่งผลการประเมินบทความ

6.ผู้ทรงคุณวุฒิควรรักษาความลับของผู้เขียนบทความ

จริยธรรมของผู้เขียนบทความ

1.บทความที่ส่งจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นโดยขาดการอ้างอิง

2.หากบทความมีการทดลองเกี่ยวกับมนุษย์หรือสัตว์ ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมในการวิจัยและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3.ผู้เขียนควรระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัย

4.ผู้เขียนควรเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น และแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ

5.ผู้เขียนจะต้องไม่นำส่วนใดส่วนหนึ่งของเนื้อหาในบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ยังแหล่งอื่น ๆ

6.ชื่อผู้เขียนที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในผลงานวิชาการนี้จริง