ผลของการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้กระบวนการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิตและคำพังเพย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้กระบวนการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้กระบวนการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่ระหว่างก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้กระบวนการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่ รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยใช้กระบวนการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่ โดยคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 14.67 คิดเป็นร้อยละ 77.78 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้กระบวนการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเจตคติก่อนการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย โดยเฉลี่ยรวม 4.22 และเจตคติหลังเรียน โดยเฉลี่ยรวม 4.33 แสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีเจตคติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
Article Details
References
Chailangka, S. et al. (2017). Learning Activity Management Based on Gagne’s Concept to Develop Thai Learning
Achievement for Prathomsuksa 3 Students. Graduate School Journal, 10(1), 25-34.
Khammanee, T. (2003). Teaching Methods for Professional Teachers. (4). Bangkok: Chulalongkorn University.
Luesat, Y. (2015). The Effects of E-learning by Using 7E Learning Cycle Activities in Biology on Analytical Thinking
Ability of Matthayomsuksa 4 Students. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 1-16.
Mathuros, S. (2021). Management Education Online in the NEW NORMAL COVID-19. Rajapark Journal, 15(40),
-42
Wayo, W. et al. (2020). Online Learning Under the COVID-19 Epidemic : Concepts and applications of teaching
and learning management. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298.