การประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

ศศิธร โสภารัตน์
ดิเรก พรสีมา
พิชามญชุ์ จำรัสศรี
ชัยเดช นาคสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูในระหว่างเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษาที่ 2/2564 จำนวน 90 คน อาจารย์ผู้สอนจำนวน 20 คน และครูพี่เลี้ยงจำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสำหรับนักศึกษาประเมินตนเอง 2) แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ผู้สอนประเมินนักศึกษา และ 3) แบบสอบถามสำหรับครูพี่เลี้ยงประเมินนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักศึกษาประเมินตนเองว่ามีสมรรถนะทางวิชาชีพครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.25) โดยสมรรถนะด้านการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูมีค่าคะแนนสูงที่สุด (x̄ = 4.62) และสมรรถนะทางความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าคะแนนน้อยที่สุด (x̄ = 3.78)

  2. อาจารย์ผู้สอนประเมินนักศึกษาพบว่าสมรรถนะทางวิชาชีพครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19) โดยสมรรถนะด้านการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูมีค่าคะแนนสูงที่สุด (x̄ = 4.43) และสมรรถนะทางความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าคะแนนน้อยที่สุด (x̄ = 3.98)

  3. ครูพี่เลี้ยงประเมินนักศึกษาพบว่าสมรรถนะทางวิชาชีพครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.12) โดยสมรรถนะด้านการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูมีค่าคะแนนสูงที่สุด (x̄ = 4.69) และสมรรถนะทางความรู้ด้านการออกแบบและดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษามีค่าคะแนนน้อยที่สุด (x̄ =3.83)

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Best, JW. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Boonmathan, K. (2020). The transfer of knowledge according to the King’s science to enhance teacher competency in the 21st Century with a learning management model based on the Sufficiency Economy philosophy. Research Report. Phetchabun Rajabhat University. (In Thai)

Chamchantharawong, C., Chanjarain, I., Suwanjinda, C., & Siririrth, W. (2017). Factors affecting the functional competency of teacher of graduate diploma students in teaching profession at Chiangrai College. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 269-280. (In Thai)

Chaninthaphum, E. & Suksodkhiao, W. (2012). Teacher competency and internal quality assurance in the demonstration schools in Nakhon Pathom province. Journal of Educational Administration, Silpakorn University, 3(1), 118-126. (In Thai)

Hihhet, G. (1989). The Art of Teaching. London: Methuen and Co. Ltd.

Intawong, B. (2011). Factors affecting teacher competency under the Educational Service Area Office of Phetchabun Primary School District 2. Self-research in Master’s degree of Research and Evaluation, faculty of education, Naresuan University. (In Thai)

Jeenawathana, A. (2016). Self-development of professional teachers. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1379-1395. (In Thai)

Meesomsarn, K. (2017). Guidelines for learning management competency development of early childhood education teachers in the 21st Century. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 7(2), 45-57. (In Thai)

Nuchpitak, A. (2009). Applying the Sufficiency Economy philosophy to the practice of educational institutions in Non Suwan district under Buriram Educational Service Area Office District 3. Master of Education Thesis of Educational Administration, faculty of education, Buriram Rajabhat University. (In Thai)

Office of the Education Council. (2009). Research report on evaluation methodology of educational success for enhancing the learning society. Bangkok : Ministry of Education. (In Thai)

Parnichparinchai, T. (2018). The study of the competencies of learning management for 21st Century of Bachelor Degree students in educational project for the development of teachers in the wilderness at the Thai-Myanmar border area, Tak provice, faculty of education Naresuan University. Journal of Education Naresuan University, 19(4), 123-132. (In Thai)

Prasertphon, C., Kornpuang, A., Jansila, V., & Chatruprachewin, C. (2013). A model for developing learning management competency of new teachers at general education private schools. Journal of Education Naresuan University, 15(5), 43-53. (In Thai)

Rassameethammachot. S. (2005). Guidelines for human potential development through Competency-baded learning. Bangkok : Siri Wattana Inter print Public Company Limited. (In Thai)