การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์กับวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ชินกฤต ศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์กับวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้สื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์กับวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์กับวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง         ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้องเรียน จำวน 82 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียน      เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง          คือ สื่อการสอนออนไลน์  เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์กับวัฒนธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน-หลังเรียน ค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) แบบฝึกหัด ค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และ         3) แบบประเมินความพึงพอใจ ค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว (One-sample t-test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์กับวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 90.91/93.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.84

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonyanant, S. (2017). Using of Online Social Networks to Support Art Education For 4.0 Learners. Journal of Education. 45 (3), 221-232.

Boonyoo, S. & Srichailard, U. (2020). The Development of Online Instruction Thai Dramatic Arts Practicing Behave Skill using Flip Classroom in Grade 7 at Princess Sirindhorn’s College School. The 12th NPRU National Academic Conference Nakhon Pathom Rajabhat University. Nakhon Pathom. 9 - 10 July 2020. 1015-1023.

Government Gazette. (2020). Statement of the Prime Minister's Office Re: Declaration of Emergency Situations under the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2005. Volume 137 Part 24 K.

Intharaksa, P. (2019). Learning Management with Social Media. Journal of Education Naresuan University. 21 (4), 357-365.

Kruse, K. (2008). Introduction to instructional design and the ADDIE model (Online). http://www.transformativedesigns.com/id_systems.html [2020, February 15].

Malanont, N. (2012). A Development of Teaching Innovation for Classical Performing. Arts on Nataleela-natayasap. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University. 4 (1), 76-97.

Ministry of Education. (1999). National Education Act. Bangkok : Teachers Council of Thailand Printing House. 1999.

Ministry of Education. (2008). Basic Education Curriculum 2008. Bangkok : Developing Academic Quality (MOD). 2008.

Mukharak, T. (2022). Results of teaching and learning in Thai dance by using an online activity series on Ancient Dance. Journal of Human Society Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. 12 (1), 16-28.

Office of the. Basic Education Commission. (2021). Guidelines for preparing for the opening of the second semester of the academic year 2021 under the epidemic situation of the Coronavirus Disease 2019 (Covid-19).

Pimpasen, S. (2022). Research and Development Thai Dance Practice Skills by using the Teaching Documents of Creative Folk Dance Named Onson Phon Phisai with the Simpson’s Model Practical Skills for Students in Thai Dance Club. Phimoldhamma Research Institute Journal. 9 (1), 87-98.

Saengkrajang, K. & Jeerangsuwan, N. (2017). Open Educational Resources for digital age instruction. Lampang Rajabhat University. 6 (1), 19-28.