การสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส : ความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง

Main Article Content

จุฑาลักษณ์ หนึ่งคำมี
เอกรักษ์ พิมพ์เภา
วรรณธิดา ยลวิลาศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวคิดพื้นฐานของระบบเลขฐานสอง (Binary Numbers) และความสัมพันธ์กับรหัสมอร์ส (Morse Code) โดยเน้นการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการแก้ปัญหา วิธีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงตรรกะ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงรหัสมอร์สกับเลขฐานสอง และการสร้างตัวอย่างที่ใช้ได้จริง เช่น การแปลงข้อความภาษาอังกฤษเป็นรหัสมอร์สและเลขฐานสอง มีข้อค้นพบหรือข้อสรุปสำคัญที่เกิดจากการศึกษา คือ การใช้รหัสมอร์สและเลขฐานสองร่วมกันช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในแนวคิดทางคณิตศาสตร์และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ การแก้ปัญหา และการสื่อสารข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในด้านการประยุกต์ความรู้ด้านเลขฐานสองและรหัสมอร์สในชีวิตประจำวัน รวมถึงการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสนใจและความกระตือรือร้นในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

วริกา คงควร. (2563). การสื่อสารข้อมูล. สืบค้นจาก https://www.scimath.org/lesson-

technology/item/10561-2019-08-28-02-44-55

สิรยา สะเดา และ สิทธิพล อาจอินทร์. (2566). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทาง

คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับการ

เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 21(1), 1–19.

สุภัตรา ทรัพย์อุปการ. (2563). เข้าใจคณิตศาสตร์ให้ง่ายขึ้นกับหลักการ CPA. ระบบคลังความรู้ SciMath.

สืบค้น จาก https://www.scimath.org/article-mathematics/item/11483-2020-04-21-07-43- 06

อัมริสา จันทนะศิริ. (2566). คณิตศาสตร์กับวิทยาการเข้ารหัสลับ. ระบบคลังความรู้ SciMath. สืบค้นจาก

https://scimath.org/article-mathematics/item/12811-2023-01-20-06-47-52

IPST Thailand. (2564). ซามูเอล มอร์ส ผู้พัฒนาโทรเลขไฟฟ้าและรหัสมอร์ส. ระบบคลังความรู้ SciMath.

สืบค้นจาก https://www.scimath.org/article-science/item/12229-2021-05-24-07-49-39