ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ธนิดา วรฤทธิ์
พิชาติ แก้วพวง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดแหลมฟ้าผ่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กำหนดเป็นกลุ่ม ทดลอง จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินพฤติกรรมความมีวินัยในตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) พฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดการเรียนเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาบูรณาการร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Atthakosolo, P. & Pangthipampai, P. (2021). Philosophy of Sufficiency Economy. Journal of Dhamma for Life, 27(3), 24 – 37. (In Thai)

Bamrungsub, P. (2024). Contemplative Education Interesting Knowledge. Journal of Santayaphiwat Wat Nongnokkod, 2(3), 70-86.

Kaewpuang, P. (2020). Science of Social Studies Learning Management. Bangkok: Chulalongkorn Press.

Linphoo, M. (2022). The Promotion of Public Consciousness of Pre-Service Teacher Students by Learning Process Based on The Integration of Contemplative Education and King Sufficiency Economy Philosophy (CCR-KP). (Research report). Kamphaengphet Rajabhat University.

Luangrach, B. (2017). Factors Affecting to Self-Discipline of Students of Opportunity Expansion School in Pha Nakhon Si Ayutthaya. (Master Thesis). Silpakorn University, Pha Nakhon Si Ayutthaya.

Mingchai, P. (2024, 10 June.) Learners ’self-discipline Behaviors Problem. Teacher. Wat Laem Fa Pha School.

Perathoranic, C. (2019). Self-discipline: Link to moral ethics based on desirable graduate characteristics. CMU Journal of Education, 3(2), 1-10. (In Thai)

Rungkhunakorn, B. (2016). Contemplative Education: the Ancient way of Learning in a new World. Journal of Education Silpakorn University, 14(2), 29-39

Srichai, P. (2024). Learning Management According to the Concept of Contemplative Education to Enhance the Self-discipline for Mathayomsuksa 1 Students. Journal of Education Buriram Rajabhat University, 4(1), 79-93. (In Thai)

The Chaipattana Foundation. Origin of Sufficiency Economy. Retrieved from ://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-economy.html [2024, 25 Aug.]

Wisadsing, O. & Kaewpuang, P. (2022). Developing Self-discipline Behaviors of Prathomsuksa 2 Students Using Moral Tales. Journal of Educational Research and Innovation Phranakhon Rajabhat University, 2(2), 73-89. (In Thai)