มาตราฐานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม, องค์กรธุรกิจในประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความนี้นําเสนอเกี่ยวกับมาตรฐานในปัจจุบันของความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility - CSR) ซึ่งมีประเด็นสำคัญ และเสนอในเรื่องของมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 Social Responsibility) จะเห็นได้ว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืนภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และหลากหลายในปัจจุบัน CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นคำที่เป็นที่รู้จัก และมีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายมานาน แต่อย่างไรก็ตามนิยามหรือความหมายของคำว่าความรับผิดชอบต่อสังคมมีความหลากหลาย และมักสื่อถึงการบริจาค (philanthropy) การอาสาสมัคร (Volunteer) หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ CSR ยังผนวกกับมาตรฐาน ISO 26000 ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2553 เป็นปัจจัยเร่งรัดให้องค์กรต้องปรับตัว และปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจที่มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม แต่ปัญหาสำคัญ คือองค์กรบางแห่ง ไม่เข้าใจในบริบทของคำว่า CSR อย่างถ่องแท้ ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับมาตรฐาน ISO 26000 ผู้นำองค์กรจึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ มาสู่การสร้าง “คุณค่า” ให้แก่สังคมและองค์กร พร้อมทั้งขับเคลื่อน CSR อย่างมีกลยุทธ์ และกระตุ้นพนักงานทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมให้เกิดผลการปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนท้ายที่สุดนำไปสู่การปลูกฝังจิตอาสาที่จะสร้างคุณค่าให้แก่สังคมและองค์กรอย่างยั่งยืน
References
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ.(2555).“CSR กับการพัฒนาที่ยั่งยืน”, วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (มีนาคม 2555).
สถาบันไทยพัฒน์. (2552). รู้จักซีเอสอาร์. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม, (2551). ก้าวแรกสู่ CSR การสร้างความแตกต่างที่ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 1, (ตลาดหลักทรัพย์สนับสนุนการพิมพ์)
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2563). คู่มือการกำหนดมาตรฐาน ISO และมาตรฐาน IEC. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กุมภาพันธ์ 2563
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม – ISO26000. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จากhttps://www. tisi.go.th/website/interstandard/iso
องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย. (2564). แผนแม่บทด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) องค์การตลาด ระยะ 5 ปี พ.ศ.2564-2568 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1)
Carroll, A. B. (1991). The pyramid of corporate social responsibility: Toward the moral management of organization stakeholders. Business Horizons. 34(4); 39-48.