อิทธิพลของผู้บริโภคสีเขียวและจิตสาธารณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคสีเขียว จิตสาธารณะ และความตั้งใจ ซื้อผลิตภัณฑ์ และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของผู้บริโภคสีเขียวที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ (โดยผ่าน จิตสาธารณะ) และศึกษาอิทธิพลทางตรงของจิตสาธารณะที่มีต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคสีเขียว จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคสีเขียวมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมากกับจิตสาธารณะและความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.858 และ 0.769 (p < 0.01) และจิตสาธารณะมีความสัมพันธ์เชิงบวกใน ระดับสูงมากกับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.789 ( p < 0.01) 2) ผู้บริโภคสีเขียวมีอิทธิพล ทางตรงต่อจิตสาธารณะในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (GCgPC, γ = 0.858, p < 0.01) และจิตสาธารณะมี อิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (PCgPI,β = 0.488, p< 0.01) 3) ผู้บริโภคสีเขียวมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (GCgPI, γ = 0.350, p< 0.01) และผู้บริโภคสีเขียวมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านจิตสาธารณะในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.419 (GCgPCgPI, γβ(0.858X0.488) = 0.419, p<0.01) ค่าความแปรปรวนในความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ สามารถอธิบายและทำนายโดยผู้บริโภคสีเขียวได้ร้อยละ 65.40 (R2 = 0.654
Article Details
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
นันทนา สุทธิประภา. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิศัลย์ โฆษิตานนท์. (2549). การพัฒนาสำนึกสาธารณะของประชาชนในชุมชนเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ พัฒนาสังคมดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนุวัต สงสม. (2555). การตลาดสีเขียว : มโนทัศน์ และพฤติกรรมผู้บริโภค. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์.
References
Ajzen, I., and M. Fishbein. (1980). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall.
Blackwell, R.D., Miniard, P.W., & Engel, J.F. (2001). Consumer behavior. Australia: South-western Thomson learning.
Kotler, P. (2009). Marketing management. 13th ed. London: Pearson Education Ltd. Leech, N.L., Barrett, K.C., & Morgan, G.A. 2005. SPSS for Intermediate Statistics: use
Anuwat Songsom. (2012) Green marketing: concepts and consumer behavior. Journal of Humanities and Social Sciences.
Kularb Kimsri. (2014) Causal Factors Influencing Purchase Intention of Sustainable Food Products. Master of Business Administration: Kasetsart University. (in Thai)
Nanthaporn Sutthiphapa. (2014) Development of Friendly Environment Consumption Behavior Model. Doctor of Philosophy: Mahasarakham University. (in Thai)
Wison Kositanont. (2006) The Development of Public Consciousness of the People In Urban Communities in Phetchabun. Ph.D. thesis in Social development: Naresuan University. (in Thai)