อิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม พฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 2) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อ สังคม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และ 3) ศึกษาการมีอิทธิพล ของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกทที่ดีขององค์การ ที่มีต่อการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน จำนวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ ระหว่าง 0.303 – 0.768 จากการวิเคราะห์ ตัวแบบสมการโครงสร้าง ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติและมีค่าความแปรปรวนที่ถูกทำนายโดยภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมร้อยละ 40 นอกจากนั้นภาวะผู้นำ ที่รับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีอิทธิพล ทางอ้อมผ่านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีค่าความแปรปรวนที่ถูกอธิบายและ ทำนายโดยภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมร้อยละ 53 สุดท้ายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีอิทธิพลต่อการ รับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีค่าดัชนีความเหมาะสม X2 / df = 1.02, CFI = 1.00, NNFI = 1.00, RMSEA = 0.008 และ 90% CI for RMSEA = 0.00
Article Details
บทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งสมาคมนักวิจัยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป การนำเสนอผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ไปเผยแพร่สามารถกระทำได้ โดยระบุแหล่งอ้างอิงจาก "วารสารสมาคมนักวิจัย"
References
ชิตวัจน์ บุรัมยากร. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำทางยุทธศาสตร์ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผล ต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของนายทหารชั้นประทวนสังกัดหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2558ก). ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ:LIFE MODEL. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม.
_____________ (2558ข). ปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์องค์การของท่า อากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(2), 50-51.
_____________ (2559). การจดัการความรบัผดิชอบตอ่สงัคมขององคก์าร:การสรา้งขอ้ไดเ้ปรยีบในการแขง่ขนัอยา่งยง่ัยนื. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม.
เมธี ศรีวิริยะเลิศกุล. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การเอกชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร (CSR for Corporate Sustainability). ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
References
Bovee, C. L., Thill, J. V., Wood, M. B., & Dovel, G. P. (1993). Management. New York: McGraw-Hill.
Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Retrieved December 31, 2017, from www.rohan.sdsu.edu/faculty/ dunnweb/rprnts.pyramidofcsr.pdf.
Carroll, A. B., & Buchholtz, A. K. (2006). Business & society: Ethics and stakeholder Management (6th ed.). Mason, OH: Thomson South-Western.
Greenberg, J. and R. A. Baron. (2000). Behavior in organizations (6th ed.). Upper Saddle River. NJ: Prentice Hall.
Kotler, P., & Lee, N. (2005). Corporate social responsibility-doing the most food for your Company and your cause. Englecliff, N. J.: John Wiley & Sons.
Organ, D. W. (1988). Organizational Citizenship Behavior: the good soldier syndrome. Lexington, MA: Lexington Books.
Wood, D. J. (1991). “Corporate social performance revisited.” The Academy of Management Review, 16(4), 691-718.
Translated Thai References
Buramyakorn, Chitawat. (2017). Influences of Strategic Leadership and Organizational Citizenship Behavior on Organizational Loyalty of Noncommissioned Officers in Army Air Defense Command, Bangkok Metropolitan Area. Kasetsart University. (in Thai).
Nonthanathorn, Phiphat. (2015a). Operational Leadership:LIFE MODEL. Bangkok: Social Enterprise Leadership Center. (in Thai).
___________ (2015b). Causal Factors of Socially Responsible Leadership Influencing to Corporate Image of Suvarnabhumi Airport. Journal of the Association of Researchers, 20(2), 50-51. (in Thai).
___________ (2016). Corporate Social Responsibility Management: Creating Sustainable Competitive Advantage. Bangkok: Social Enterprise Leadership Center. (in Thai).
Rattanajak, Jirapan. (2014). Socially Responsible Leadership and Organizational Culture Affecting the Corporate Social Responsibility Practices of SCG Chemicals Group. Kasetsart University. (in Thai).
Sriviriyalertkul, Metee. (1999). The Relationship between Organization Citizenship Behavior, Job Satisfaction and Performance : A Case Study of a Large Private Company. Thammasat University. (in Thai).
Sustainable Business Development Institute. (2013). CSR for Corporate Sustainability. n.p.: n.p.. (in Thai).