กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการบอกข่าวร้ายในภาษาไทยและเหตุจูงใจ
Keywords:
กลวิธีทางภาษา, ข่าวร้าย, ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ, วัฒนธรรม, วัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อยAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการบอกข่าวร้ายแก่คู่สนทนาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการบอกข่าวร้าย ผลการวิจัยพบว่าผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความรุนแรงในการบอกข่าวร้ายมากกว่ากลวิธีทางภาษาแบบตรงไปตรงมา ส่วนข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในการใช้กลวิธีทางภาษาในการบอกข่าวร้ายมี 2 ส่วน คือ วัตถุประสงค์ของการสนทนา และ ปริบทของการสนทนา โดยการรักษาความสัมพันธ์ของคู่สนทนาเป็นข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงมากที่สุดในการใช้กลวิธีทางภาษาในการบอกข่าวร้าย พฤติกรรมทางภาษาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 3 ประการ ได้แก่ การมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม และความเป็นวัฒนธรรมปริบทสูง
References
Hall, S. (1976). Visual culture : the reader. London: SAGE Publications.
Hanks,W, Ide,S, and Katagiri, Y. (2009). “Introduction Towards an emancipatory pragmatics”. Journal of Pragmatics, 41, 1-9.
Hofstede, G. (1984). Culture's consequences: international differences in work-related Values. Beverly Hills: Sage Pub.
Hofstede, G. (1987). Culture's consequences: international differences in work- related values .Beverly Hills : Sage Pub.
Klausner, W, J. (1981). Reflections on Thai Culture. Bangkok: Suksit Siam.
Markus, H. R., and Kitayama, S. (1991). Culture and the Self: Implications for Cognition, Emotion and Motivation. Psychological Review, 98, 224-253.
Mulder, N. (1996). Inside Thai society: An interpretations of everyday life. Amsterdam: Pepin Press.
Panpothong, N. (2555). Pragmatism in Thai. Unpublished.
Pongsapich, A (eds). (1998). Traditional and changing Thai world view. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Triandis, H, C. (1995). Individualism and collectivism. Boulder: Westview Press.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย