แนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
Keywords:
Security, Local government, Southern border provincesAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางการเมืองการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคง ปลอดภัย ทางการเมือง การปกครองท้องถิ่น ปัญหาสังคมจิตวิทยาที่มีต่อการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิต ศาสนา วัฒนธรรม และจารีตประเพณี รวมไปถึงศึกษาระดับความสำคัญของการบริหารจัดการ การบริการประชาชนของรัฐบาล โดยวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้และหาวิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม โดยยึดหลักการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การวิจัยนี้ดำเนินการวิธีพื้นฐานโดยวิธีการวิจัยจากเอกสารเสริมด้วยการวิจัยสนามโดยออกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน ผู้นำศาสนา นักการเมือง นักวิชาการ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทนายความ รวม 39 คน
ผลการวิจัยพบว่า นโยบายและการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดความชัดเจนต่อเนื่อง ไม่มีเอกภาพในการดำเนินงาน และไม่มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมีความหวาดระแวง และไม่ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาและการแก้ไขปัญหา แนวทางแก้ปัญหาตามหลักการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มีสาเหตุสัมพันธ์กับความมั่นคง ปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของการเมืองการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
This research on Administration and Management Guidelines for Political and Local Government Security in the Southern Provinces of Thailand aimed to study the local conditions and administration as well as political instability and insecurity in the areas. The principles of H.M. King Bhumibol, i.e, Understanding, Realizing and Development were tested as problems solving strategies. In addition, the factors of social psychology that affected the life of people in the southern border provinces were investigated along with roles of public officials in order to analyze the causes of the problems for formulation of public policy for the southern border provinces.
The research relied primanty on secondary data and complemented by interviews of 100 government officials and local people and by in-depth interview of military officers, police officers, civil servents, religious leaders, politicians, academics, local administrators, chiefs of tambons and villages, and lawyers totaling 39 people.
It was revealed that the policy and the overall operation for the resolution of the problems in the southern border provinces were not clear, discontinuous and lack of unity in management to tackle the persistent problems effectively. The muslim people felt suspicious and reluctant to cooperate with the government officers to solve the problems and in development works. However, the principles of Understanding, Realizing and Development were related to the stability and security in the southern border provinces of Thailand.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ทัศนคติ ความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเกษมบัณฑิตฉบับนี้เป็นของผู้เขียน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้องด้วย