ชุมชนกับความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษา ตำบลบางช้าง จังหวัดนครปฐม

Authors

  • นิภาพรรณ เจนสันติกุล

Keywords:

Community, Knowledge, Disaster managementชุมชน ความรู้ การจัดการภัยพิบัติ

Abstract

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลชุมชน ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภัยพิบัติของชุมชนตำบลบางช้าง จังหวัดนครปฐมโดยใช้แนวทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสานเสวนา และการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีรายได้เฉลี่ย 53,508.62 บาท/ปี และลักษณะของตำบลบางช้างเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ส่วนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่มี  2 ประเภท ได้แก่    วาตภัย และอุทกภัย โดยในรอบ 10 ปี มีอุทกภัยเกิดขึ้นจำนวน 102 ครั้ง และมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 6 หมู่บ้าน (ร้อยละ 54.55) ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการตระหนักถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการ ได้แก่  ประชาชนในชุมชนบางช้างมีศักยภาพทางความรู้และทางการเงิน และความพร้อมในการเตรียมความพร้อมและการป้องกัน  ความสามัคคีและความร่วมมือกันของประชาชนในชุมชนบางช้าง  การมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐบาล ภาคเอกชน และองค์กรอื่น ๆ และ  ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับของประชาชนในชุมชนบางช้าง

Abstract

          This research aimed to conduct a community study, with special reference to knowledge on disaster management and factors affecting disaster management. The methodology for data collection included participant observation, focus group and documentary research. It was demonstrated that the majority of people in the Sub-District were occupied with agriculture with averaged revenue of 53,508.62 baht/year. Bangchang is a semi-urban and semi-rural community. Disasters that were broken out in Bangchang were caused mainly by storm and flood. In the past 10 years, the flood broke out 102 times and affected six villages (54.55%). Knowledge in disaster management emerged from experience and the realization of damages that occurred in the past. Factors contributing to disaster management were that the people in the Bangchang community were equipped with knowledge and money as well as readiness to be prepared for disaster prevention. Additionally, it was concerned with unity and cooperation of the people in the community. Moreover, networks of collaboration with government sector, private sector and other organizations contributed greatly to effective disaster management . Finally, there was the strong community leadership that was recognized by the people in Banchang community. 

Downloads

Published

2016-01-28

How to Cite

เจนสันติกุล น. (2016). ชุมชนกับความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษา ตำบลบางช้าง จังหวัดนครปฐม. KASEM BUNDIT JOURNAL, 16(2), 82–94. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/47562

Issue

Section

Research articles