อิทธิพลของคนรอบข้างที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • Pirayut Pattanayanon

Keywords:

พฤติกรรมผู้บริโภค อิทธิพลทางสังคม สินค้าฟุ่มเฟือย

Abstract

สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูงนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่จะยอมจ่ายในราคาสูงเพราะความต้องการในการแสดงสถานะทางสังคม จุดประสงค์ของการวิจัยคือเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของคนรอบข้างซึ่งประกอบไปด้วยอิทธิพลของเพื่อน ครอบครัว ชุมชนสังคม และบุคคลในสื่อ ต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งประกอบไปด้วยจำนวนครั้งที่ซื้อ จำนวนเงินที่ซื้อต่อครั้ง เวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้า การคำนึงถึงราคา และการยินยอมจ่าย  โดยศึกษาจากผู้บริโภคเฉพาะเพศหญิง อายุระหว่าง 15–60 ปี ที่มีการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยและอยู่อาศัยหรือทำงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) จำนวน 164 ตัวอย่าง โดยการศึกษาสินค้าฟุ่มเฟือย 4 ประเภทสินค้า คือ โทรศัพท์มือถือ เครื่องสำอาง  กระเป๋า และเสื้อผ้าแฟชั่น
ผลการวิจัยพบว่าสำหรับการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทโทรศัพท์ เครื่องสำอางและกระเป๋า บุคคลรอบข้างมีอิทธิพลกับเวลาในการตัดสินใจและการยินยอมในการจ่าย  การที่ผู้บริโภคเห็นคนอื่นใช้สินค้าประเภทโทรศัพท์ เครื่องสำอางและกระเป๋านั้น ทำให้มีผลต่อการที่ผู้บริโภคจะซื้อตามโดยใช้เวลาในการตัดสินใจน้อยลงและยินยอมจ่ายมากขึ้น  แต่แตกต่างจากสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทเสื้อผ้าแฟชั่นตรงที่ นอกจากที่บุคคลอื่นจะมีผลต่อการยอมจ่ายของผู้บริโภคแล้ว ยังมีผลทำให้ซื้อบ่อยมากขึ้นอีก โดยใช้ ANOVA ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างน้อยสองกลุ่มขึ้นไป ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 0.05
    จากการวิเคราะห์ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สินค้าฟุ่มเฟือยประเภทอื่น ที่มีราคาถูกลง และผู้บริโภคมีการคำนึงถึงราคาน้อยลง  บุคคลรอบข้างจะมีอิทธิพลน้อยลงไปตามลำดับ  สำหรับงานวิจัยในอนาคตน่าจะพิจารณากับสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทอื่นๆในกลุ่มผู้บริโภคที่แตกต่างออกไปเช่นกลุ่มผู้บริโภคผู้ชายในเขตเมืองใหญ่ๆนอกกรุงเทพมหานครอาจจะได้ผลที่แตกต่างกัน

References

เขียน วันทนียตระกูล. (2545). การเลียนแบบ จิตวิทยาการศึกษา, เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์

จรรยา สุวรรณทัต. (2533). ความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาพัฒนาการเด็กและการเลี้ยงดู, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มัลลิกา บุนนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล. (2556). การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2), ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา

ศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา. (2547). ผลกระทบจากการเปิดรับความรุนแรงที่นำเสนอทางสื่อมวลชนที่มีการจดจำพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงและทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เสรี วงษ์มณฑา. (2543). กลยุทธ์การตลาด: วางแผนการตลาด, กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย

อัศน์อุไร เตชะสวัสดิ์. (2547). พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพมหานคร: ซี.วี.แอล การพิมพ์

สุรพี หมื่นประเสริฐดี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าตามกระแสนิยมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Hawkins, D.I., Best, R.J., & Coney, K.A. (2001). Consumer behavior: Building Marketing Strategy, Boston: McGraw-Hill

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control, New Jersey: Prentice-Hall

Mowen, J.C., &Minor, M. (1998). Consumer behavior, New Jersey: Prentice-Hall

Peter, J.P., & Olsen, J.C. (1990). Consumer behavior and marketing strategy, Homewood, Illiniois: Richard D. lrwin

Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (1994). Consumer behavior, Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall

Downloads

Published

2018-06-13

How to Cite

Pattanayanon, P. (2018). อิทธิพลของคนรอบข้างที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. KASEM BUNDIT JOURNAL, 19(1), 10–18. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/51341

Issue

Section

Research articles