ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Keywords:
แผนยุทธศาสตร์, การพัฒนาการท่องเที่ยว, การบูรณาการแบบยั่งยืน, Strategic Plan, Tourism Development, Sustainable IntegratedAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์สภาพ แวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพร้อมด้วยเทคนิค AIC การตรวจสอบข้อมูลใช้วิธีการสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยกลุ่มประชากร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว และ 3) นักท่องเที่ยวชาวไทยผลการวิจัยพบว่า แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวิสัยทัศน์ คือ “อยุธยานครประวัติศาสตร์ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกแห่งอาเซียน” ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม พัฒนาจิตใจและการปลูกจิตสำนึก ผลการประเมินแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความเหมาะสมมากที่สุด มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
The Strategic Plan for Sustainable Integrated Tourism In Ayutthaya Province
This research aimed to develop integrated and tourism sustainable strategic plan for Ayutthaya province. The combination of qualitative and quantitative research was used as a method of the study. The qualitative data were collected from the in-depth interviews, internal and external environment group discussion (SWOT Analysis). Participatory action was used by apply with The AIC technique. The data were checked by the third parties. The data were analyzed on the content and collected from the questionnaires. The statistical data were showed in percentage and mean. The populations of this study were divided into 3 groups; 1) government agencies, private sector and local communities, 2) the professionals in tourism strategic management planner and 3) Thai tourists.
The result of this study showed that the integrated and tourism sustainable strategic plan of Ayutthaya was “Ayutthaya, the historical city and the world heritage tourism hub of Asian”. It was contained with 4 strategic issues; 1) the development strategic of heritage tourism for an economic development in Ayutthaya, 2) the strategic development of Ecotourism, 3) the strategic development for an integrated and sustainable tourism community and 4) the strategic development for cultural preserved tourism and spiritual awareness. An assessment result of the integrated and sustainable strategic plan of Ayutthaya was at the most appropriate level and consistent with the environment of Ayutthaya that can lead to an action processes.