About the Journal

Focus and Scope

Mekong-Salween Civilization Studies Journal (MSCSJ) จัดทำโดย หน่วยวารสาร  กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร  เปิดรับบทความจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย บทความที่เสนอขอรับการพิจารณาอาจเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อต้องมีสองภาษา จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ) และ (ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม) ตีพิมพ์ในรูปแบบ Online

นโยบายการจัดพิมพ์ Mekong-Salween Civilization Studies Journal (MSCSJ) เพื่อเปิดโอกาสให้ คณาจารย์และนักศึกษาได้นำเสนอผลงานด้วยการตีพิมพ์ เผยแพร่งานวิจัย วิทยานิพนธ์และบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ และเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมใน 5 สาขาวิชา ได้แก่

1. สาขาวิชาศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์ (General Arts and Humanities)

2. สาขาประวัติศาสตร์ (History)

3. สาขาภาษาและภาษาศาสตร์ (Language and Linguistics)

4. สาขาทัศนศิลป์และการแสดง (Visual Arts and Performing Arts)

5. สาขาวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies)

วารสารฯ รับตีพิมพ์ประเภท บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article)  วารสารฯ จะดำเนินการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของวารสารฯ https://www.nuac.ac.th

Peer Review Process

บทความทุกบทความต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน  โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่รู้ว่าผู้เขียนเป็นใคร และผู้เขียนไม่รู้ว่าผู้ทรงคุณวุฒิเป็นใคร (Double-blinded Review) และได้รับผลการประเมินผ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 จึงจะตอบรับการตีพิมพ์ อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด 

เกณฑ์การพิจารณาบทความ

1. กำหนดให้มีกรรมการประเมินคุณภาพบทความ (Peer review)  ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่รู้ว่าผู้เขียนเป็นใคร และผู้เขียนไม่รู้ว่าผู้ทรงคุณวุฒิเป็นใคร (Double-blinded Review)  โดยจะจัดส่งให้กรรมการเป็นผู้ประเมิน โดยดำเนินการประเมินคุณภาพบทความ ประมาณ 30 วัน เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วทางกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมินเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 7 วัน

2.  หากต้องมีการแก้ไขปรับปรุง (ถ้ามี) เอกสารตามที่กรรมการพิจารณาคุณภาพบทความให้ข้อเสนอแนะ ให้ผู้เขียนบทความต้องดำเนินการแก้ไขและส่งกลับมายังกองบรรณาธิการภายใน 15 วัน จึงจะได้รับการพิจารณาลงในวารสารหากผู้ส่งบทความไม่ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของกรรมการ ทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ให้กับบุคคลที่แก้ไขแล้วเท่านั้น

3. กองบรรณาธิการจัดส่งบทความที่แก้ไขปรับปรุงให้ผู้ประเมินคุณภาพบทความตรวจสอบอีกครั้ง (ถ้ามี) โดยใช้เวลาไม่เกิน 20 วัน

4. กองบรรณาธิการแจ้งผลการได้รับพิจารณา/ไม่ได้รับพิจารณาบทความให้ตีพิมพ์ในวารสาร ให้แก่เจ้าของบทความทราบเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีได้รับพิจารณาให้ตีพิมพ์กองบรรณาธิการจะออกหนังสือรับรองให้แก่เจ้าของบทความ ตามที่อยู่ที่ผู้ส่งบทความแจ้งให้แก่กองบรรณาธิการ

5. เมื่อดำเนินการครบทุกบทความตามจำนวนที่กำหนด (ไม่เกิน 10 บทความ ต่อ 1 ฉบับ) กองบรรณาธิการจะดำเนินการตีพิมพ์เล่มวารสารเพื่อเผยแพร่และนำเผยแพร่เป็นวารสารวิชาการฉบับออนไลน์บนเวปไซด์ของสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร

6. บทความที่เสนอต้องไม่เคยได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในที่อื่นมาก่อนและหากบทความที่เสนอได้รับการตอบรับให้จัดพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ผู้เสนอบทความต้องรับรองว่าจะไม่นำบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ที่อื่นอีก (เว้นแต่จะได้รับความยินยอมที่เป็นหนังสือจากสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร) และหากเกิดความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น ผู้เสนอบทความยินดีรับผิดชอบความเสียหายนั้น

7. กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

8. ค่าตีพิมพ์ต่อ 1 บทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อัตราค่าธรรมเนียม 3,500 บาท กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าตีพิมพ์ให้ในทุกกรณี รวมทั้งกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ประเมินบทความ และให้ความเห็นว่าไม่สมควรเผยแพร่ใน Mekong-Salween Civilization Studies Journal

อนึ่ง การส่งบทความสามารถดำเนินการส่งได้ตลอดปี กองบรรณาธิการจะดำเนินการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับตามที่กำหนดในวาระ และเมื่อดำเนินการครบตามกระบวนการประเมินคุณภาพบทความและได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะทำเอกสารตอบรับการตีพิมพ์ให้แก่ผู้ส่งบทความ ตามลำดับ 

Publication Frequency

จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน )  และ (ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม )

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

Journal History

logo_191

 

ความเป็นมา
     ตามประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง จัดตั้งและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการและหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี (เพิ่มเติม) โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2552 ให้เปลี่ยนสถานภาพ และชื่อคำเรียกหน่วยงาน จากสถาบันอารยธรรมศึกษาโขง – สาละวิน เป็นสถานอารยธรรมศึกษาโขง–สาละวิน และให้ย้ายไปสังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยมีฐานะเทียบเท่ากองและให้แบ่งหน่วยงานภายในเป็น 4 งาน ประกอบด้วย 1. งานธุรการ 2.งานวิจัยและสารสนเทศ 3. งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 4. งานพิพิธภัณฑ์

    เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 207 (5/2558) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 ให้ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารตามนโยบายของท่านอธิการบดี โดยผ่านสภามหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริหารงานมีความชัดเจนและคล่องตัวในการขับเคลื่อนงาน ในทุกบริบท จึงได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร (สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน) บังคับใช้ประกาศตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ให้แบ่งส่วนงานภายใน ดังนี้ 1.งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 2.งานวิจัยและสารสนเทศ โดยทำหน้าที่ศึกษาสืบค้น รวบรวม วิจัย พัฒนา รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกความมีตัวตนและอัตลักษณ์ให้กับคนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในกลุ่มชุมชนชาติพันธุ์พื้นที่ลุ่มน้ำโขง-สาละวิน 6 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตลอดจนเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการสร้างเสริมเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานของภาครัฐบาล และเอกชน ทั้งภายในประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ อย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกที่เชื่อมโยงนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

     ต่อมาสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 237(12/2560) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2560 ระเบียบวาระที่ 6.7 เรื่องการปรับโครงสร้างหน่วยงานภายใต้สำนักงานอธิการบดี เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อจาก สถานอารยธรรมศึกษาโขงสาละวิน เป็น กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป โดยแยกเป็น 2 งาน 1 หน่วยได้แก่ 1.งานบ่มเพาะและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 2.งานวิจัยสร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม  3.หน่วยสนับสนุน

    ในเวลาต่อมามติสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในการประชุมครั้งที่ 263 (7/2562) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2562 ได้ปรับโครงสร้างส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักงานอธการบดี กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เปลี่ยนเป็นหน่วยงานภายในกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  ดังนี้ 1.งานศิลปวัฒนธรรม 2.งานพัฒนานวัตศิลป์ ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป โดยนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร

วิสัยทัศน์
“ องค์กรแห่งความรู้และสร้างคุณค่าให้ศิลปวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่าเชิงสร้างสรรค์ ”

พันธกิจ
1. เป็นหน่วยงานหลักด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ประเพณี ภูมิปัญญาและ ศิลปวัฒนธรรม
2. ศึกษา วิจัยและจัดการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาเป็นนวัตกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพร้อมเผยแพร่และเพิ่มมูลค่า
3. บริหารและการจัดการความรู้ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในรูปแบบการสร้างเครือข่าย เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ของภาคส่วนต่างๆ ในกระบวนการผลิตบัณฑิต ผลงานวิจัย และการบริการวิชาการ

วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1. เพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินภารกิจและประสานความร่วมมือด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
2. เพื่อเป็นองค์กรด้านการวิจัยและศูนย์กลางองค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม
3. เพื่อเป็นองค์กรที่เสริมสร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้เกิดความเข้าใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมและสุนทรียภาพ

ชื่อของบรรณาธิการที่ผ่านมา มีรายนามดังต่อไปนี้นี้      
1) ศ.ดร.จิรวัฒน์  พิระสันต์ ตั้งแต่ ปีที่ 1 พ.ศ.2553  ถึง  ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มค.-มิย.) 2556                                             
2) รศ.ดร.วศิน  ปัญญาวุธตระกูล ตั้งแต่ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กค.-ธค) 2556  ถึง  ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. )2561
3) ศ.ดร.จิรวัฒน์  พิระสันต์ ตั้งแต่ปี่ที่ 10 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย.) 2562 ถึง ปีที่ 12 ฉบับที่ 12 (ก.ค. - ธ.ค. )2564
4) ดร.จารุวรรณ  แดงบุบผา ตั้งแต่ปี่ที่ 13 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย.) 2565 เป็นต้นไป