การจัดการความรู้ในการดำเนินการประเพณีตานต๊อด ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

Authors

  • สุนทร คล้ายอ่ำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

ตานต๊อด, การจัดการความรู้, THANTOD Traditional, Knowledge Management

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและบริบทในการดำเนินงานประเพณีตานต๊อด เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการประเพณีตานต๊อด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม การใฝ่รู้ด้านความเชื่อและทัศนคติ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านพลังร่วม และด้านการไว้วางใจ เพื่อศึกษาขั้นตอนการจัดการความรู้เพื่อใช้ในประเพณีตานต๊อด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการกำหนดความรู้, ขั้นตอนการสร้างความรู้และแสวงหาความรู้, ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, ขั้นตอนการนำความรู้ไปใช้ และขั้นตอนการจัดเก็บความรู้ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของ ผู้ทรงคุณวุฒิในการจัดการความรู้ประเพณีตานต๊อด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 71 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กลุ่ม และแบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิดจากผลการ วิจัย พบว่า 1) สภาพและบริบทจากกระบวนการจัดการความรู้ ตานต๊อด หมายถึง การวาง ของให้ เป็นประเพณีที่แสดงถึงความเอื้ออาทรของชาวบ้านที่มีต่อคนทุกข์ยากเป็นการทำบุญ ของชาวล้านนาทางภาคเหนือของไทย 2) องค์ประกอบหลักในการจัดการความรู้อย่างมีส่วน ร่วม 5 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านวัฒนธรรมการใฝ่รู้ พบว่า กลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับ ประเพณีตานต๊อด โดยกระบวนการ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เป็นที่ปรึกษาให้ ความรู้และข้อเสนอแนะ 2) ด้านทัศนคติและความเชื่อ พบว่า ทุกกลุ่มมีทัศนคติที่ดีต่อการมี ส่วนร่วมในการดำเนินการประเพณีตานต๊อด ซึ่งมีความเชื่อที่มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ จากการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น 3) ด้านการทำงานเป็นทีม พบว่า ทุกกลุ่มมีการทำงานเป็นทีม โดยเน้นให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มรับรู้เป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมประเพณีตานต๊อดร่วมกัน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลดอกคำใต้เป็นแกนนำในการจัดการกิจกรรม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน 4) ด้านพลังร่วม พบว่าทุกกลุ่มร่วมกันปฏิบัติงานประเพณีตานต๊อด มีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล ร่วมรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมโดยการทำตามแผนที่วางไว้ 5) ด้านการไว้วางใจกัน พบว่า การไว้วางใจกันของกลุ่มโดยมีพระสงฆ์เป็นศูนย์รวมจิตใจ ซึ่งกิจกรรมประเพณีตานต๊อดพระสงฆ์เป็นผู้เริ่มประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม

ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนการจัดการความรู้เพื่อใช้ในประเพณีตานต๊อด 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนด้านการกำหนดความรู้ พบว่า สมาชิกทุกกลุ่มมีวัฒนธรรมการใฝ่รู้ในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ จะมีความรู้เกี่ยวกับประเพณีตานต๊อดมากที่สุด 2) ขั้นตอนด้านการ สร้างความรู้และแสวงหาความรู้ พบว่า ทุกกลุ่มร่วมกันสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประเพณี ตานต๊อด โดยทำงานเป็นเครือข่ายและได้รับการสนับสนุน การอบรมให้ความรู้จากอาจารย์คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มาให้ความรู้และนำหลัก การจัดการความรู้มาใช้กับประเพณีตานต๊อด 3) ขั้นตอนด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า ทุกกลุ่มสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีตานต๊อด โดยมีการสรุปขั้นตอนการจัด กิจกรรม และกำหนดให้บุคลากรทุกกลุ่มปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้ตกลงกันไว้ 4) ขั้นตอนด้าน การนำความรู้ไปใช้ พบว่า สมาชิกทุกกลุ่ม นำความรูที้่มีหยั่งลึกในตนเอง และความรูที้่เกิดจาก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการดำเนินกิจกรรม KM workshop ในประเด็นของประเพณี ตานต๊อดมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็นการอนุรักษ์ประเพณี ตานต๊อดให้คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป 5) ขั้นตอนด้านการจัดเก็บความรู้ ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 5 กลุ่ม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการนำความรู้ไปใช้ตามที่ได้กำหนดไว้จริง และได้มีการ จัดเก็บ ความรู้ในฐานข้อมูล web site ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอกคำใต้

จากการศึกษาข้อเสนอแนะ พบว่า กลุ่มภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมในการจัดการ ความรู้เพื่อนำไปใช้ในประเพณีตานต๊อด ได้ดังนี้ 1) ควรมีการวิจัยประเมินโครงการการจัดการ ความรู้แบบมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมประเพณีตานต๊อดในพื้นที่ตำบลดอกคำใต้ จังหวัด พะเยา 2) ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ในการดำเนินประเพณีตานต๊อด ตำบลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา และ 3) ควรมีการนำความรู้ เกี่ยวกับประเพณีตานต๊อดไปใช้ขยายผล โดยการจัดทำคูมื่อการดำเนินประเพณีตานต๊อด เพื่อ นำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ตำบลอื่น ๆ

 

A Study of Knowledge Management on Tan Thod Tradition in Dok KhamTai Sub District Dok Kham Tai District Phayao Province

The purpose of this research are 1) to study the conditions and the context of the TANTHOD traditional 2) to study the participants of TANTHOD tradition management as Putting effort persistently Culture, Beliefs and Attitudes, Teamwork, Synergy and Trust 3) to study the process of TANTOD traditional’s knowledge management as seek knowledge culture, belief and attitude, team work, power together and trustworthiness and 4) to study the experts knowledge management’s recommendations of TANTHOD traditional. This research is qualitative study. The key informants are people who participated in the TANTHOD traditional including 71 cases.

The data collection is done by group interview and open-ended questions and analysis is done using content analysis approach. The results showed as follows:

1) The conditions and the context of the TANTHOD traditional could mean the donation tradition of the LANNA that is to pay respects.

2) The main elements in TANTHOD traditional knowledge management are five characteristics which are 2.1) Putting effort persistently Culture as advisors and suggestion by School of Management Information Science; University of Phayao, Phayao Cultural Office, and SRI KHOME KHUM’s assistant abbot 2.2) Beliefs and Attitudes, all groups believed that TANTHOD traditional is the Transmitted generation to generation 2.3) Teamwork within the local people by Dok Khum Tai Sub-district Administrative Organization members, Sub-district Headman, village headman, Sub-district culture parliament, and village health volunteer 2.4) Synergy, all groups participated by participation in identifying problems and causes of problems, participation in follow-up and evaluation, and participation in planning activities respectively and 2.5) Trust by the monk who is the spiritual center.

3) The process of TANTHOD traditional’ s knowledge management as seek knowledge culture, belief and attitude, team work, power together and trustworthiness as follows: 3.1) Seek knowledge culture; TANTHOD is members’ participation in the community, 3.2) Belief and Attitude; TANTHOD is the useful activities that maintain the local wisdom heritage and should relate to the next generation, 3.3) Team work; training and community network by Dok Khum Tai Sub-district Administrative Organization made members know and understand the tradition objective, 3.4) Power together; It is the most important to attend and donate that make community identity, and 3.5) Trustworthiness; dependents perception is not the neglect in the community.

The last finding as the experts knowledge management’s recommendations of TANTHOD traditional as follows: 1) should be evaluated by project management research 2) should to study the efficiency and effectiveness of the THANTOD traditional’ s knowledge management engaged and 3) THANTOD traditional’ s knowledge management in this area is the best practice so should be the learning center for others.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)