ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
สวนไม่เข้าเป็นคา ญาติพี่น้องไม่ไปมาเป็นอื่น : “ความเป็นพี่น้องไท” กับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเพณีปอยซ้อนนํ้า ของชาวไทใต้คงเมืองขอน มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Keywords:
ชนชาติไท, ไทใต้คง, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ปรากฏการณ์โหยหาอดีต, Tai people, Tai Dehong, Creative Economy, Cultural Tourism, NostalgiaAbstract
คนไทใต้คงที่เมืองขอน (เต๋อหง) มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประเพณีสงกรานต์เช่นเดียวกับชนชาติไทกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า “ปอยซ้อนน้ำ”ถือเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทใต้คงที่ดำเนินตามตำนานสงกรานต์ที่เล่าสืบกันมา ปัจจุบันประเพณีดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ และยกระดับจากประเพณีสู่มหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บทความนี้ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์สำคัญในการนำเสนอพลวัตของประเพณีปอยซ้อนนํ้าของ คนไทใต้คงและวิธีคิดในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยผู้วิจัยได้เดินทางไปเก็บข้อมูล ณ เมืองขอน ในระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๔ เมษายน ๒๕๕๘ ผลการศึกษาพบว่าการจัดงานดังกล่าวใช้ปรากฏการณ์โหยหาอดีตกับอัตลักษณ์ “ความเป็นไท” เป็นแนวคิดหลักในการจัดการคติชนสร้างสรรค์ในประเพณีปอยซ้อนนํ้า ผ่านกลยุทธ์ในการจัดการต่างๆ ได้แก่ การเชิญผู้แทนคนไทกลุ่มต่างๆ เป็นอาคันตุกะการธำรงรักษาประเพณีดั้งเดิมและความเป็นพุทธศาสนิกชน การจัดการแสดงพื้นบ้านและแข่งขันศิลปกรรมพื้นบ้าน ของไทใต้คง การร่วมสร้างความภาคภูมิใจร่วมกันของคนไทผ่านกิจกรรมการสร้างสถิติ Guinness Book Record ประจำปี สิ่งเหล่านี้นับเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของเมืองขอนตามแนวคิด “ความเป็นพี่น้องไท”
“Gardens are not logged overgrown grass, relatives who do not meet each other to become someone else.” : “Tai relative” and Management of cultural tourism in Poi Son Nam Tradition of Tai Dehong, Yunnan, China
Tai or Dai in Dehong of Yunnan, China have Songkran Tradition, as well as Tai other groups called "Poi Son Nam". This is an old tradition of Tai people to abide by the Songkran's Myth. Nowadays, the tradition is supported by the government and upgrading to be the cultural festivals. This article aims to present the dynamics of the 'Poi Son Nam' tradition of Tai Dehong and study how to manage the creative economy in terms of cultural tourism. To collect data was collected at the Dehong between March 11 - April 14, 2558. The results showed that this festival use the ‘nostalgia’ and 'Tai identity’, as a key concept for managing creative folklore in 'Poi Son Nam' tradition through various management strategies including; invited representatives from the Tai groups as a guest, preserved the old tradition and “Buddhismness", showed various Tai Performances and Tai folk art competition of Tai Dehong and created a proud record of Tai through the Guinness Book Record each year. This is the mechanism that stimulates the economy and tourism of Dehong city based on the concept "Tainess".