ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
การจัดการความรู้ด้านเนื้อหาของโครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่จัดโดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
Keywords:
การจัดการความรู้, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, โครงการบริการวิชาการ, Knowledge Management, School of Liberal Arts University of Phayao, Academic ServiceAbstract
วัตถุประสงคข์ องการศึกษาครั้งนี้คือ 1) รวบรวมและวิเคราะห์องค์ความรู้ในประเด็นเนื้อหาจากโครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2553 – 2555 และ 2) เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของการนำโปรแกรมการจัดการความรู้มาพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ในงานบริการวิชาการ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจัดการความรู้ในงานบริการวิชาการ งานวิจัยครั้งนี้เปน็ การวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการวิชาการของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสารและการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ดำเนินโครงการหลักในโครงการบริการ วิชาการของคณะศิลปศาสตร์ จากสาขาวิชาด้านภาษา และสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์
ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการด้านภาษา ได้แก่ แนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษ และภาษาจีนสำหรับกลุ่มเยาวชนที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและการจัดทำสื่อสำหรับการสอนภาษา ส่วนความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การเก็บข้อมูลชุมชน การพัฒนาชุมชน นโยบายสาธารณะและการวางแผนและการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
ส่วนแนวทางการจัดการความรู้ในงานบริการวิชาการของคณะศิลปศาสตร์ต้องเริ่มต้นที่การรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้เพื่อช่วยให้การรวบรวมจัดเก็บเข้าถึงแลกเปลี่ยนความรูทั้งเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ควรเน้นการวางแผนเพื่อการทำงานระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลลัพธ์อย่างยั่งยืนในชุมชนที่ดำเนินโครงการบริการวิชาการ
Knowledge Management in content of Academic Service Projects for society by School of Liberal Arts, University of Phayao
The objectives of study were 1) to collect and analyze the knowledge in the content of Academic Services to society in the fiscal year of 2010 – 2012 and 2) to explore the possibility of applying knowledge management program to develop Knowledge Management process in Academic Service projects and 3) to present an appropriate guidelines for facilitating Knowledge Management in Academic Service projects. This institutional research intend to improve the quality of academic service projects of School of liberal arts at University of Phayao, and also analyzed the data collecting from documentary and Focus Group Discussion with main conductors who contributed any Academic Service projects from Language Majors and Social Sciences Majors.
The findings revealed that essential knowledge for delivering Academic Service projects of Language were practical guideline in both English and Chinese training for youth and preparation of materials for language training. For essential knowledge in Academic Service of Social Sciences projects implementation were community’s data collection, Community Development, Public Policy and Planning, Participatory Action Research (PAR).
Guideline for Knowledge Management of Academic Service should start with a systematic data storage. Moreover, Knowledge Management Programs need to be learned, in order to accumulate, collect, access and transfer knowledge between inside network and outside network effectively. Long term planning on Academic Service projects should be considered to contribute a sustainable at serviced communities.