นโยบายรัฐกับการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • สมคิด คำแหง นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
  • สมบัติ บุญเลี้ยง อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
  • ณัฐวุฒิ บุ้งจันทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
  • อภิไท สอนทอง อาจารย์ ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพชรบูรณ์

Keywords:

นโยบายรัฐ, สวัสดิการผู้สูงอายุ, พิษณุโลก, State Policy, Social Welfare Of The Elderly, Phitsanulok

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อนโยบายรัฐในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาความความต้องการของผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลกต่อการได้รับบริการสวัสดิการสังคมของผูสู้งอายุตามผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2546 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการบริการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตชุมชนจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ การดูแลและสวัสดิการผู้สูงอายุ การศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การส่งเสริมการคุ้มครองสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอย่างเหมาะสม และการส่งเสริมการออม มีผลต่อนโยบายการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของภาครัฐ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้สูงอายุในเขตชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 40 ชุมชน จำนวน 3,701 คน ด้วยวิธีการสุ่มโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ร้อยละ 80 ของแต่ละชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุในเขตชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตํ่ากว่า 15,000 บาท มีระดับการศึกษาสูงสุด คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ร้อยละ 48.69 มีบุตร 2-3 คน ร้อยละ 42.10 และมีสถานภาพสมรส ร้อยละ 48.01 ผู้สูงอายุในเขตชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นต่อการจัดสวัสดิการสังคม ด้านการดูแลสวัสดิการสังคมการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ การส่งเสริมประกอบอาชีพและการส่งเสริมการออมว่านโยบายรัฐเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดพิษณุโลกประสบความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุในเขตชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีความต้องการที่จะได้รับบริการจัดสวัสดิการสังคมจากภาครัฐ ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาผู้สูงอายุ อยู่ในระดับไม่แน่ใจความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการบริการสวัสดิการของผูสู้งอายุและนโยบายการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของภาครัฐ พบว่า การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุด้านการดูแลและสวัสดิการผู้สูงอายุ การศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การส่งเสริมการคุ้มครองสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพอย่างเหมาะสมและการส่งเสริมการออมของผู้สูงอายุในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

 

State Policy and Social Welfare Arrangement for the Elderly in the Community of Phitsanulok Province

The purposes of the research were to 1) study the levels of the elderly’s opinions towards the state policies on social welfare of the elderly in the communities in Phitsanulok Province, 2) explore the Phitsanulok elderly’s needs in welfare services according to the Elderly Act 2003, and 3) study the relationships between the elderly’s influential needs in welfare services, targeting in the communities in Phitsanulok, namely social welfare supervision, education and lifelong learning promotion, promotion and protection in occupational safety for the elderly and saving promotion, and the state policies on social welfare of the elderly, namely a strategy of preparing populations for the quality old age, a strategy of the elderly promotion, a strategy of social protection systems for the elderly, and a strategy of the elderly development. The number of the elderly from 40 communities around the Phitsanulok city municipality who participated in the study was 3,701. The samples were randomized by Stratified Random Sampling at 80 percent of each community. The research tool used to collect data was a questionnaire; the data was analyzed by a statistical packaged computer program.

The research results showed: Most of the elderly in the communities around the Phitsanulok city municipality were female at 66.38%; male at 33.72%. Most earned less 15,000 baht a month. 48.69% graduated in vocational certificates. 42.10% had children 2-3. 48.01% were married. The elderly’s, targeting in the communities in Phitsanulok, opinions towards social welfare services of the elderly, namely social welfare supervision, education and Lifelong Learning promotion, promotion and protection in occupational safety for the elderly and saving promotion was moderate: the state policies on social welfare of the elderly, social welfare of the elderly in the communities in Phitsanulok were accomplished. The Phitsanulok elderly’s needs in the state social welfare services, namely a strategy of preparing populations for the quality old age, a strategy of the elderly promotion, a strategy of social protection systems for the elderly, and a strategy of the elderly development were unsure. The relationships between the elderly’s needs in welfare services and the state social welfare services of the elderly showed: social welfare supervision, education and lifelong learning promotion, promotion and protection in occupational safety for the elderly and saving promotion were related to the state social welfare services of the elderly in overall.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)