ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

Authors

  • ฤทัยภัทร พิมลศรี อาจารย์ ดร. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการและ สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

Tourism Development, Sukhothai, ASEAN community

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทด้านการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย ได้แก่ ทรัพยากรการท่องเที่ยวภาคธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว ด้านการตลาดและการบริหารจัดการการท่องเที่ยว แล้วประเมินสภาพแวดล้อมทางการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยในการรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน อันนำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ และเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) โดยมีแบบการวิจัยที่นำมาดำเนินการ คือ ประเภทการวิจัยแบบไม่มีการทดลอง(non-experimental design) มีเครื่องมือสำคัญได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน การประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมสัมมนา เก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้นำชุมชน ผลการศึกษาจากการประเมินสภาวะแวดล้อมการท่องเที่ยวด้านต่างๆ และกำหนดค่าคะแนนในการทำ space matrix พบว่า จังหวัดสุโขทัยอยู่ในตำแหน่งที่มีจุดแข็ง โดดเด่นในด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว และด้านการตลาดทางการท่องเที่ยวอีกทั้งยังมีสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาสโดยเฉพาะกระแสการเดินทางท่องเที่ยวและการเปิดประชาคมอาเซียน แต่สำหรับด้านธุรกิจการบริการ การท่องเที่ยวและ สิ่งอำนวยความสะดวก ภาครัฐยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุง รวมทั้งป้องกันอุปสรรคต่างๆ โดยมีการบริหารงานแบบบูรณาการร่วมกัน นอกจากนี้ผลจากการประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย ต่างเห็นพ้องร่วมกันและกำหนดไว้ว่า “สุโขทัย รุ่ง อรุณแห่งความสุข ศูนย์กลางมรดกโลกแห่งอาเซียน” ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพในการเป็น มรดกโลกที่เป็นจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตก (East-West Economic Corridor : EWEC) โดยเน้นแนวทางบูรณาการพหุมิติของความสัมพันธ์ (มิติทางการเมือง มิติด้านสังคม วัฒนธรรม ควบคู่กับมิติทางเศรษฐกิจ)พัฒนาจังหวัดทั้งในเชิงรุกเชิงรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ ซึ่งกำหนดเป็น 3 ทิศทางหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงรุกให้โดดเด่นสู่การเป็นศูนย์กลางมรดกโลกแห่งอาเซียน (Aggressive หรือ SO Strategies) โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีสุโขทัยในเชิงพุทธศาสนา มีจำนวน 6 แผนงาน 2) การปรับเปลี่ยน พัฒนาภาคการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล (Defensive หรือ WT Strategies) มีจำนวน 7 แผนงาน 3) การส่งเสริมด้านการสื่อสารและการตลาดการท่องเที่ยวเชิงรุก (Aggressive หรือ SO Strategies) มีจำนวน 4 แผนงาน

 

Tourism Development Direction of Sukhothai Province to Support the ASEAN Community.

The research aims to study on tourism in Sukhothai Province and evaluate to support the ASEAN Community in aspect of tourism resources, service and tourism business, marketing and tourism managements. It also introduces the tourism development direction for this province to reach and ready for the ASEAN Community. This research is an action research, using qualitative methodology combined with quantitative methodology. The non-experimental design was done through surveys, interviews, questionnaires, evaluation, focus group discussions and seminar. The data were collect from the government, business, community leaders and tourists. The result from tourism evaluation and space matrix showed that Sukhothai Province have the outstanding on tourism resources and tourism marketing. Moreover the external environment is serving as an opportunity for travelling and the opening of ASEAN Community. But in the aspects of service business, tourism and facilities which will be develop, improve and prevent problem obstacle by the government in order to integrated collaboration with others. In addition, the result from seminar in concept of giving guideline and introduce the tourism development for Sukhothai province defined as “Sukhothai: the dawn of happiness and ASEAN World Heritage Centre” so they have require to develop their legacy as number 1 of World Heritage whereas the tourist will realize on the East-West Economic Corridor: EWEC. The development will emphasize on multi-dimensional (Political, Social, Cultural and Economics) and develop both of proactive and reactive effectively to competition. The development can be divided into 3 strategies; 1) strategies for proactive development of tourism resources to aggressive as the center of ASEAN World Heritage (Aggressiveor SO Strategies) especially in historical tourism, cultural, traditional and the way of Sukhothai regard to religion composing of 6 plans 2) strategies for service and facilities adaptation for tourism to reach in standard (Defensive or WT strategies) that composing of 7 plans 3) strategies for support on communication and marketing on proactive tourism (Aggressiveor So Strategies) that composing of 4 plans.

Downloads

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)