ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
วัจนกรรมจากคำเอิ้นขวัญในพิธีกรรมรักษาโรคของหมอเหยาชาวผู้ไทย
Keywords:
วัจนกรรม, ผู้ไทย, หมอเหยา, การเอิ้นขวัญ, พิธีกรรมรักษาโรค, Speech Acts, Phu-Thai, Shamans, Soul Recalling, Therapeutic CeremoniesAbstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวัจนกรรมจากคำเอิ้นขวัญในพิธีกรรมรักษาโรคของหมอเหยาชาวผู้ไทยใน 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ นครพนม สกลนคร และมุกดาหาร จากการศึกษาพบว่า หมอเหยาจะใช้วัจนกรรมปลอบประโลมใจมากที่สุด และมีวัจนกรรมที่มีคำกริยาเป็นตัวบ่งชี้ (วัจนกรรมตรง) ได้แก่ การบอกกล่าว การชี้นำ การผูกมัด การแสดงความรู้สึก และการแถลงการณ์ สำหรับวัจนกรรมอ้อมนั้น มีการใช้ประโยคที่เป็นคำถาม แต่มีเจตนาเพื่อบอกเล่าหรือขอร้องให้ขวัญของผู้ป่วยกลับมาเข้าร่างจะได้หายเป็นปกติ รวมทั้งมีการใช้วัจนกรรมปลอบประโลมใจ แต่ใช้รูปประโยคเป็นคำสั่งห้าม งานวิจัยนี้ได้ผลสรุปที่สอดคล้องกับทฤษฎีวัจนกรรมของจอห์น อาร์. เซอร์ล กล่าวว่า “คำพูดก่อให้เกิดการกระทำ” เพราะคำเอิ้นขวัญในพิธีกรรมรักษาโรคของหมอเหยาสามารถใช้คำพูดเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุรชัย ชินบุตร เรื่อง การสืบทอดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของหมอเหยาและอัตลักษณ์ของชาวผู้ไทยในพิธีเหยาเลี้ยงผีที่พบว่า การเหยาเป็นวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยที่สะท้อนความเชื่อในการรักษาแบบพื้นบ้าน และผู้ป่วยที่หายจากการเจ็บป่วยจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์และรับอำนาจศักดิ์สิทธิ์เป็นหมอเหยาคนต่อไป
Speech Acts from Soul Recalling in Therapeutic Ceremonies of the Phu-Thai Shamans
The results showed that the soul calling speech acts of Phu-Thai shamans in therapeutic ceremonies procedure was the same in all 4 prvinces (Kalasin,Nakorn Phanom,Sakon Nakhon and Mukdahan.). It was found that Moh Yao used the speech acts to reassure the patients most. The performative verb of speech acts (direct speech acts) used were : assertives , directives, commissives and declaratives. In terms of indirect speech acts, questioning with purpose of asserting or soul recalling was used. In addition, reassuring in from of prohibiting utterances was used. The results and conclusion of this research corresponds with the speech acts theory of John R. Searle as “Speech makes acts”’ It can be proved by the speech used by Moh Yoa to encourage and reassure the patients. This research corresponds with Surachai Chinabutr as Sacred Power Transmission of The Yao Ritual Practitioner and Phu Thai Identity in Yoa Liang Phi Ritual. The results of the study reveals that the Yao ritual reflects the relation between PhuThai religious belief and Phu Thai folk healing tradition. The patients who recover from their sickness may decide to inherit the sacred power from their healer and become Mor Yoa themselves.