ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับ “ข้าว” ในสังคมไทย
Keywords:
สำนวน, สุภาษิต, วิถีชีวิต, อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์, อรรถศาสตร์ปริชาน, Proverbs, Idiom, Way of life, Conceptual metaphor, Cognitive SemanticsAbstract
การศึกษาเรื่องอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับ “ข้าว” ในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์ความหมายตามบริบทของคำว่า “ข้าว” เมื่อใช้เป็นอุปลักษณ์ และเพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ทางความหมายเกี่ยวกับ “ข้าว” ของคนไทย โดยใช้ทฤษฎีอรรถศาสตร์ปริชาน และแนวคิดการจำแนกอรรถลักษณ์ในการวิเคราะห์ความหมายต่างๆ ของคำ ที่เกิดจากการปรากฏของอุปลักษณ์ “ข้าว” โดยเก็บข้อมูลจากคำศัพท์ สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่มีคำว่า “ข้าว” ประกอบ
ผลการศึกษาพบว่า ความหมายของอุปลักษณ์ “ข้าว” มี 10 ประเภท ได้แก่ เครื่องบริโภค มนุษย์ เวลา บุญคุณ อาชีพ ผลประโยชน์ คุณสมบัติหรือคุณลักษณะ การมีเพศสัมพันธ์ สิ่งของ ซึ่งแสดงให้เห็นมโนทัศน์ของคนในสังคมไทยว่า “ข้าว” ซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญ และมีความผูกพันในการดำรงชีวิตของคนไทยจึงมีการถ่ายโยงความหมายของ “ข้าว” ให้มีความหมายที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมไทย
Conceptual Metaphors Using /khǎːw/ (Rice) in Thai
This article aimed to investigate aspects of the concept of Thai speaker as understood by rice in context and to analysis its conceptual metaphors in Thai. The data were collected from proverbs, idioms and aphorisms that compounded the expressions with ‘khǎːw’. The analysis is based on Cognitive Semantics and componential analysis approaches.
The result shows 10 main categories of conceptual metaphors of rice. These are food, human being, time, obligation, career, utility, quality, sexual relations, and things.
From the study of the above metaphors shows that the concepts of Thai speakers towards rice are related with Thais way of life.