ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของเมืองสุรินทร์ ตามนโยบายของรัฐ พ.ศ.2435 - 2475
Keywords:
เศรษฐกิจเมืองสุรินทร์, ประวัติศาสตร์อีสาน พ.ศ.2435-2475, Surin Economy, The History of Isan in 1872 – 1932Abstract
บทความนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของเมืองสุรินทร์กับนโยบายที่มีต่อภาคอีสานของรัฐบาลนับตั้งแต่รัฐบาลไทยทำการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ.2435 จนถึงปี พ.ศ.2475 ซึ่งรัฐบาลภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หมดอำนาจลงจากเหตุการณ์ปฏิวัติในวันที่ 24 มิถุนายน 2475
ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2435 รัฐบาลได้ทำการปฏิรูปการปกครองเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองภาคอีสานไว้ที่กรุงเทพฯ ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนวิถีการผลิตทางเศรษฐกิจของราษฎรจากการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นการผลิตสินค้าเพื่อขาย โดยเน้นที่การปลูกข้าวและการเลี้ยงหมู ซึ่งนโยบายดังกล่าวนี้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.2475 ผลของนโยบายทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในเมืองสุรินทร์ ค่อยๆเปลี่ยนจากการปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพและหาส่วยประเภทของป่าส่งให้แก่รัฐบาลเป็นการค้าของป่า ควบคู่ไปกับการปลูกข้าวและการเลี้ยงหมูเพื่อส่งออกมายังกรุงเทพฯ โดยความเปลี่ยนแปลงนี้ปรากฏอย่างชัดเจนหลังจากรัฐบาลได้ทำทางรถไฟกรุงเทพฯ-อีสาน ต่อจากเมืองนครราชสีมา มาถึงเมืองสุรินทร์
The change of Surin’s economies as state policy in 1872 – 1932
This article aims to study the relationship between the change of surin economies and the state policy on Northeast region since Siam reformed the polities from 1872 to 1932 which ruled the nation under monarchy and it was over after therevolution on 24 June 1932
The result finds that since 1892 Bangkok goverment reformed the polities to gather the power which ruled Northeastern at Bangkok parallel to the change of people's economies in food production for life and for sale. They focussed on rice planting and pig raising. This policy kept on from 1872 to 1932. The result made the people's economies in Surin change gradually from rice planting for life and found wild food for sale parallel to rice planting and pig raising in order to send to Bangkok. This appeared accurately after the goverment constructed railway from Bangkok to Northeast ; Korat to Surin.