ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
การใช้สื่อ ทุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ของเยาวชนไทยในจังหวัดตราด
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมกับทุนทางสังคมของเยาวชนไทยในจังหวัดตราด 2.ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อมวลชน สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อพื้นบ้านของเยาวชนกับทุนทางสังคมของเยาวชน และ 3.ศึกษาถึงการใช้สื่อมวลชน สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อพื้นบ้าน และทุนทางสังคมของเยาวชนกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของเยาวชนไทยในจังหวัดตราด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และอาศัยอยู่ในจังหวัดตราด จำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) โดยมีระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษา 1.พบความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และอาชีพบิดากับทุนทางสังคมด้านกลุ่มและเครือข่าย คือ เยาวชนที่มีรายได้สูงสามารถพบปะ ทำกิจกรรม และเข้ากลุ่มเพื่อนฝูงได้มากกว่าเยาวชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 2.พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตกับทุนทางสังคมด้านกลุ่มและเครือข่าย คือ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) สามารถสร้างความเป็นกลุ่มและเครือข่ายให้กับเยาวชนได้ 3.พบความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโทรทัศน์และสื่อพื้นบ้านกับทุนทางสังคมด้านความไว้วางใจ และพบความสัมพันธ์ระหว่างสื่อพื้นบ้านกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของเยาวชน คือ การบริโภคสื่อโทรทัศน์ที่มีการสอดแทรกสาระและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชนสามารถสร้างทุนทางสังคมด้านความไว้วางใจให้แก่เยาวชนได้ รวมไปถึงการใช้สื่อพื้นบ้านด้วยที่สามารถสร้างทุนทางสังคมด้านความไว้วางใจได้ เนื่องจากการใช้สื่อพื้นบ้านทำให้เยาวชนซาบซึ้งและภาคภูมิใจกับจังหวัดของตนเอง ซึ่งความรู้สึกนี้จะช่วยทำให้เยาวชนมีความไว้วางใจต่อคนอื่นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมในที่สุด
MEDIA USE AND SOCIAL CAPITAL AND PARTICIPATION IN SOCIAL ACTIVITIES AMONG THAI YOUTHS IN TRAT
The objectives of this research were to examine the use of media (television, radio, news, internet, and folk media) by youths and their relationship with social capital (group & network and trust), and participation in social activities in young people in Trat. I surveyed a representative sample of 15- to 24-years olds (N=400) with questionnaire and analyzed data with SPSS. The statistics employed for the data analysis was Multiple Linear Regression Analysis. From the study, I found that income and father’s income were positively related to social capital (group & network) because young people who have more money can go to meet and spend time with friends more than young people who have less money. Internet media use were positively related to social capital (group & network) because using internet through social network can foster young people’s social capital (group & network). Television and folk media use were positively related to social capital (trust) and folk media use was positively related to participation in social activities because watching entertainment television like dramas which have an advantage content can enhance the production of social capital (trust), together with using folk media can foster young people’s social capital (trust) because it make young people feel sentimental and proud of their province and this feeling can enhance participation in social activities.