การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • กาญจนา อาสนะคงอยู่ หัวหน้างานกิจการศาสนา สำนักการศึกษา สังกัดสำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก
  • เอกชัย โกมล หัวหน้างานอำนวยการ สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร

Abstract

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ความรู้ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ เชิงเศรษฐกิจและสังคม สภาพแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และเสนอแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์เชิงนโยบาย ด้านวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก 

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้กำหนดประชากรเป็น  3 กลุ่ม  จำนวน  16 คน ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการ  6 คน กลุ่มนักธุรกิจ 4 คน  กลุ่มนักบริหาร  6 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม  สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำแนวคิดมาสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งใช้กับการพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกสู่การพัฒนาเป็นเมืองศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย  ประกอบด้วย ส่วนที่ 1. แบบสัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของจังหวัดพิษณุโลก  ส่วนที่ 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองใช้แบบสอบถาม ถามถึงภูมิหลัง ทัศน์คติแนวความคิดความเชื่อ ประสบการณ์ และความรู้สึกของผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกให้ข้อมูลหลัก (Key informant) โดยใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี (Theoretical sampling) (Strauss and Corbin, 1991.pp.176-193) โดยการเลือกจากบุคคลกลุ่มต่างๆ ในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาใช้บรรยายและรูปแบบของตาราง พบว่า  

องค์ความรู้ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรม  พบว่า  เทศบาลนครพิษณุโลก  มีภารกิจและบทบาทในการให้บริการสาธารณะ และพัฒนาท้องถิ่นให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน  การดำเนินการบริหารเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน  มากำหนดโครงการแนวทางร่วมกันในการพัฒนาพิษณุโลก โดยสร้างภาคีการพัฒนาระหว่างองค์กรท้องถิ่น ประชาคมเมือง และภาคเอกชน  อีกทั้งเน้นหลักการบริหารจัดการที่ดี  จากผลการพัฒนาเทศบาลนคพิษณุโลก  ในระยะเวลาที่ผ่านมาเทศบาลฯ  ได้มีการนำแผนงานโครงการไปสู่การปฏิบัติในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยสามารถสรุปภาพรวมแบ่งเป็นตามยุทธศาสตร์  แผนงานและโครงการต่างๆ ในมิติทางวัฒนธรรม ปรากฏเป็นยุทธศาสตร์  6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขยายระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์และการจราจร ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับการให้บริการสาธารณะหลักประกันสุขภาพและการบริการยุทธศาสตร์ที่ 3 ขยายแหล่งการเรียนรู้ยกระดับคุณภาพการศึกษานวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญายุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี สร้างจิตสำนึกตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยุทธศาสตร์ที่ 5 ขยายการพัฒนาทุนทางสังคมการสร้างอาชีพและสวัสดิการให้ชุมชนมีความเข้มแข็งยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริกหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การพัฒนาบุคลากรและระบบเพื่อการบริหารที่ดี

ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์  เชิงเศรษฐกิจและสังคม  สภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรม  พบว่า  พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน  นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงทุกวันนี้  ปัจจุบันนี้เมืองพิษณุโลกนับว่าเป็นศูนย์กลางทั้งในทางการเมือง  การปกครอง  เศรษฐกิจ  สังคม  การศึกษา  ศิลปวัฒนธรรม  การคมนาคม การสื่อสาร  การโทรคมนาคม  การทหารและการท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนล่าง  สำหรับการพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกให้สวยงามด้วยการใช้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างคุณค่าและเอกลักษณ์ของเมืองศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 มิติคือข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์  เชิงเศรษฐกิจและสังคม  เชิงสภาพแวดล้อม  เชิงแหล่งท่องเที่ยว  และเชิงศิลปวัฒนธรรม  ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นในจังหวัดพิษณุโลกในมิติทางวัฒนธรรมและเอกสารวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงจังหวัดพิษณุโลกรวมทั้งภูมิภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่  ความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์    ความสำคัญเชิงสังคมและเศรษฐกิจ  ความสำคัญเชิงสภาพแวดล้อม ความสำคัญเชิงแหล่งท่องเที่ยว  ความสำคัญเชิงศิลปวัฒนธรรม

แนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์เชิงนโยบาย ด้านวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก  พบว่า การวางบทบาทของภารกิจด้านศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลกให้สอดคล้องกับศักยภาพและบทบาทของวิถีชีวิต  ประกอบด้วยภาคีที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปกรรมร่วมสมัย การมีส่วนร่วมในการวางรากฐานการพัฒนา  การมีระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ มีการใช้ศักยภาพด้านเอกลักษณ์ของศิลปะและวัฒนธรรมที่มีอยู่เป็นฐานในการผลิต  และบริการเพื่อเตรียมพัฒนาจังหวัด  นำข้อได้เปรียบของพื้นที่และความเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านต่างๆ รวมทั้งโครงข่ายบริการพื้นฐานที่พัฒนามากขึ้นแล้ว  เป็นสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันให้ก้าวตามโลกอย่างรู้เท่าทัน  นโยบายเชิงบริหาร  ผู้บริหารจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับตัวแทนภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์  นโยบายของจังหวัดพิษณุโลกในการพัฒนาศิลปกรรรม  แผนปฏิบัติการ  จังหวัดพิษณุโลกร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง กำหนดแผนปฏิบัติการของภารกิจของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งประกอบด้วย ด้านคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ด้านพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามและส่งเสริมการท่องเที่ยว  ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการบริการวิชาการ  ด้านรักษา สืบสานศิลปะและวัฒนธรรมประเพณี และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ด้านการบริหารราชการท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการที่ การปฏิบัติการ จังหวัดพิษณุโลกร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องกำหนดกลยุทธ์และปฏิบัติการตามแผนและโครงการที่จะนำไปสู่การพัฒนาศิลปกรรมร่วมสมัย การประเมินผล งานและโครงการโดยยึดวัตถุประสงค์และเป้าหมายรวมทั้งการชี้แนะและพัฒนาเกณฑ์ชี้วัด


CULTURAL DEVELOPMENT  STRATEGIES IN URBAN AREA : A CASE STUDY OF PHITSANULOK

In  this  research.  Purposes.  The  growth  of  the  cultural  identity  of  the  city's  magnificent  cultural  heritage.  And  historical  information.  Economic  and  social  environment,  cultural  tourism,  which  is  unique  in the  province  of  Phitsanulok.  To  offer  guidance  in  developing  strategic  policy.  Culture  of  the  province  of  Phitsanulok.  This  research  is  action  research  and  community  involvement.  And  procedures  for  qualitative  research  is  the  primary  mixed  method  approach  and  Documentary  Analysis  and  In – depth  Interview  I  target.  three  groups : academic  Business  groups.  And  administrators.

Research.

1. The  operation  of  the  local  culture.  Consistent  with  the  potential  and  the  role  of  lifestyle.  Necessary  to  enable  and  encourage  people  to  take  part  in  cultural  activities.  Allow  people  to  act  and protect  cultural  heritage.  The  location  and  the  existing  base  of  manufacturing  and  services.  Take  advantage of  the  area  and  a  learning  center  in  conjunction  with  the  development  of  various  infrastructure  and  basic services  have  been  developed.  The  performance  and  capabilities  to  keep  pace  with  global  competition  trick.

2. Phitsanulok  is  a  historic  city  with  a  long  history.  Since  prehistoric  times  until  today.  This  can  be seen  from  ever  having  the  status  of  the  capital.  Luk  Luang  capital  city  capital  city  of  northern  outpost town  and  so  on.  Economic  and  social  center  for  services  such  as  education,  transportation,  trade,  etc.,  are  the  artistic  and  cultural  well – being  and  livelihood  of  the  people  of  various  ethnic  and  cultural  traditions,  some  of  which  still  exist.  Life  of  the  occupation.  The  building  houses.  And  other  native  products.  The  tourist  attraction  is  nature.  Historic.  Travel  and  Culture  category.  People  have  more  income  from  tourism.

3. To  develop  a  mission  of  Phitsanulok  province  in  the  development  of  contemporary  art.  Found  to  contain.  Policy  management.  Development  strategies,  Phitsanulok.  Policies  to  promote  arts  and  culture.  The  organization  of  the  province  of  Phitsanulok  in  driving  the  cultural  strategy.  The  development  of  the  cultural  dimension  in  cold  Edinburgh.  Action  plan.  And  evaluation.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)