การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในเมียนมาร์

Authors

  • ธานี สุขเกษม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Keywords:

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย, การสร้างประชาธิปไตย, เมียนมาร์, Democratic Transition, Democratization, Myanmar

Abstract

พม่าหรือเมียนมาร์เป็นประเทศที่มีระบอบการปกครองโดยคณะทหารมายาวนานนับตั้งแต่ทศวรรษที่  1960  จนถึงปัจจุบัน  (ปี  2013)  ในช่วงระหว่างระยะเวลาดังกล่าว  รัฐบาลทหารพม่าได้มีการเปลี่ยนตัวผู้นำทหารหลายครั้งในขณะที่มีประชาชนหลายกลุ่ม  หลายเผ่าพันธุ์ได้เรียกร้องให้มีเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก  ดังที่พม่าเคยมีมาแล้วในช่วง  ปี ค.ศ. 1948-1962  แต่รัฐบาลทหารพม่าก็ไม่เคยตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว  แต่กลับใช้วิธีการรุนแรงในการปราบปรามผู้ต่อต้านกลุ่มต่างๆ เช่น  ประชาชนทั่วไป  นักศึกษาและพระสงฆ์มาโดยตลอด  อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ผู้นำทหารพม่าได้ประกาศใช้แผนพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยหรือ  Road  Map  7  ขั้นตอนในปี  ค.ศ.2003  แล้ว  การเมืองของพม่าได้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านระบอบการเมืองจากแบบเผด็จการทหารไปสู่ประชาธิปไตยตามแผนการดังกล่าว

สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบโดยใช้แนวคิดเรื่องขั้นตอนการสร้างประชาธิปไตยของซอเรนเซ็น 3 ช่วงระยะคือ  (1) ช่วงระยะเตรียมการ คือช่วงใช่ Road Map 7 ขั้นตอน  (2) ช่วงระยะการตัดสินใจ คือช่วงการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ปี ค.ศ. 2008 และการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2012 และ (3) ช่วงระยะการสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาธิปไตยแล้ว  ผลการศึกษาพบว่าการเมืองของพม่าปัจจุบันอยู่ในช่วงสิ้นสุดระยะที่สอง และกำลังมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ช่วงที่  3  คือ  ช่วงระยะการสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาธิปไตย

 

Transition  to  Democracy  in  Myanmar

Burma  or  Myanmar  was  a  country  ruled  by  military  regime  (Junta)  since  decade  of  1960  to  present  (2013).  During  that  time, many  of  military  leaders  were  changed  while  there  were  several  protested  by  many  groups  of  people  and  ethnics  in  demand  for  western  democratic  regime  as  usual  during  1948  to  1962.  However,  the  Junta  never  response  to  that  demands  but  the  violently  procedure  were  always  used  in  suppression  these  opponents  such  as  people,  students, monks  and  so  on.

Nevertheless, since  the  proclamation  of  seven step  road map  in  2003,  politics  in  Myanmar  trend  to  democracy  transition  from  military  dictatorship rule to  democracy  along  with  that  plan.

For  the  comparative  study  by  applying  three  phases  of  democratization  proposed  by  Sorensen.  The  findings  revealed  that  transition  to  democracy  in  Myanmar  was  at  the  beginning  of  the  third  step consolidation  of  democracy.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Article)