ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
เต๋ออ๋าง : ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตามทรรศนะของนักวิชาการจีน
Keywords:
เต๋ออ๋าง, ปะหล่อง, ดาระอัง, มอญ-เขมร, ออสโตรเอเชียติก, ชาติพันธุ์วรรณนา, De’ang, Paluang, Dara –ang, Mon-Khmer language family, Austro-Asiatic, EthnographicAbstract
ในประเทศจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ 56 กลุ่ม ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 กลุ่มที่พูดภาษาตระกูลมอญ - เขมร คือ ชนกลุ่มน้อยเผ่าปลัง (Blang) ชนกลุ่มน้อยเผ่าเต๋ออ๋าง (De'ang) และชนกลุ่มน้อยเผ่าหว่า (Va) ชนเผ่าทั้งสามกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณจีนตอนใต้ ได้แก่เขตมณฑลยูนนานและกวางสี ทั้งยังมีการอพยพโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนของประเทศใกล้เคียงรวมถึงภาคเหนือของประเทศไทยด้วย บทความวิชาการเรื่องนี้เป็นการนำเสนอในเชิงชาติพันธุ์วรรณนาของชนกลุ่มน้อยเผ่าเต๋ออ๋าง ซึ่งเป็นข้อมูลจากข้อเขียน มุมมองและทรรศนะของนักวิชาการฝ่ายจีน โดยมีรายละเอียด 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยเผ่าเต๋ออ๋าง ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนที่ 3 ภาษาเต๋ออ๋าง และ ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
De’ang: Chinese Scholars’ Perspectives on Mon-Khmer Languages in China
In China, 56 ethnic groups are officially endorsed by the Chinese government. Of these, 3 are members of the Mon-Khmer family,namely, the Blang, the De’ang, and the Va ethnic minorities. These three groups live scatteredly in Southern China including Yunnan Province and Guangxi Region. They also migrate across borders to settle along the borders of neighboring countries including northern Thailand. This academic article offers an ethnographic discussion of the De’ang ethnic minority based on data gathered from written documents, views, and perspectives of Chinese scholars. The article consists of 4 detailed sections: Section 1on introduction, Section 2 on a brief overview of the De’ang ethnic minority in the People’s Republic of China, Section 3 on the De’ang language, and Section 4 on their ways of life, customs, traditions, arts, and culture.