ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
กระบวนการค้ามนุษย์ในกลุ่มผู้หนีภัยจากการสู้รบ
Keywords:
พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ, การค้ามนุษย์, ผู้หนีภัยจากการสู้รบ, Mae La Temporary Shelter, Human Trafficking, Displaced Persons from FightingAbstract
บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “กระบวนการค้ามนุษย์ กับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ของผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการค้ามนุษย์ในกลุ่มผู้หนีภัยจากการสู้รบ ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในประเด็นมูลเหตุ องค์ประกอบ และวิธีการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีกรณีศึกษา (case study) ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านมูลเหตุเกิดจาก ปัจจัย 3 ประการ ประกอบด้วย 1.1) ปัจจัยผลักจากพื้นที่พักพิงฯ คือคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำด้านที่อยู่อาศัย อาหาร สุขภาพและรายได้ที่ไม่เพียงพอ 1.2) ปัจจัยดึงจากด้านนอก ได้แก่ ความต้องการแรงงานไร้ฝีมือของภาคธุรกิจขนาดกลางและย่อยและแบบอย่างความสำเร็จของผู้ประสบความสำเร็จจากการทำงานนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราว และ1.3) ค้นพบปัจจัยเพิ่มเติม คือปัจจัยเร่งซึ่งทำให้เกิดการค้ามนุษย์ได้เร็วและง่ายขึ้น ได้แก่ การถูกจำกัดสิทธิในพื้นที่พักพิงฯ การมีสถานะบุคคลที่เปราะบาง และการถูกหลอกลวงจากบุคคลในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน 2) ด้านองค์ประกอบการค้ามนุษย์ ได้แก่ นายหน้าค้ามนุษย์ วิธีการเดินทางที่หลากหลายทั้งเดินเท้า ใช้รถยนต์ส่วนตัว รถสาธารณะ การซุกซ่อนและการเดินทางที่เปิดเผย การพักรอและการส่งต่อเป็นทอดๆ โดยพบวิธีการแสวงหาประโยชน์จากเหยื่อ 5 รูปแบบ ประกอบด้วยรูปแบบเดิมตามกฎหมาย 4 รูปแบบ ได้แก่ 2.1) การค้าประเวณี 2.2) การบังคับใช้แรงงาน 2.3) การเอาคนลงเป็นทาส 2.4) การกระทำที่เป็นการขูดรีดบุคคล และค้นพบรูปแบบใหม่จากการศึกษาครั้งนี้ 1 รูปแบบ คือ 2.5) การแสวงหาประโยชน์จากนายหน้าหัวคิว และ 3) ด้านวิธีการ ประกอบด้วย ช่วงก่อนการเคลื่อนย้าย ประกอบด้วยนายหน้าจัดหาเหยื่อ หลอกลวงด้วยการปกปิด บิดเบือนข้อเท็จจริงบางประการและผูกมัดด้วยหนี้สิน เพื่อให้เหยื่อร่วมเดินทางไปด้วยความสมัครใจ และช่วงการถูกค้าประกอบด้วยการข่มขู่ ทำร้าย ใช้อำนาจ และกลไกทางสังคม เพื่อควบคุมเหยื่อให้ทำงานและไม่หลบหนี
The Human Trafficking in Displaced Persons from Fighting
This article is a part of research project “The Human Trafficking and Impact on Human Rights of residents in Mae La Temporary Shelter, Thasongyang District, Tak Province.” The objectives of this study included to study the Human Trafficking Process from victims who were displaced Persons from Fighting and resident in Mae La temporary shelter, Thasongyang District, Tak Province. This article focused on cause of Trafficking, component and means. Qualitative Research in the form of case study was applied. The results shown: 1) The cause of Trafficking: 1.1) Push Factors from temporary shelter especially dimension of low quality of houses, food, health and income; 1.2) Pull Factors from outside such as shortage of labor supply among SMEs and repetition patterns from others victims; 1.3) Accelerator factors were found in this study only, including, limitation of human right, insecurity of people status and betrayed by their own ethnic friends. 2) component: volunteer victims with multiple transportations such as by foot, private and public vehicles. Hidden and expose transferring involved 4 types of trafficking under Thai law: 2.1) prostitution. 2.2) force to labor. 2.3) force to slave 2.4) others exploited activities. However the researcher found a new type from this study: 2.5) exploited from the process of transportation during the recruitment. 3) Means: The before movement period included persuasion, deception, distortion and disclose some certain facts. For volunteer victims, controlling them by depths was the major tool. For the forced labors period, coerced, physical abused and acted of violence were applied.