กลไกการซ้ำเพื่อแสดงความเด่นในข้อความ กรณีศึกษาเนื้อความการเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Authors

  • ขจิตา ศรีพุ่ม นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ความเด่น, กลไกการแสดงความเด่น, การซ้ำ, การเลิกทาส, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, Discourse prominence, prominence devices, repetition, slavery abolition, King Rama 5

Abstract

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความเด่นในการเสนอใจความสำคัญเรื่องการเลิกทาสด้วยการใช้กลไกการซ้ำเพื่อเน้นย้ำความหมาย เป็นการแสดงใจความสำคัญในพระบรมราโชบายการเลิกทาสที่ถ่ายทอดสู่ประชาชนผ่านหนังสือราชกิจจานุเบกษา 30 ตอน โดยผลการวิเคราะห์กลไกการแสดงความเด่นด้วยการซ้ำในวจนะเลิกทาสมี 4 ประการ คือ การซ้ำความเพื่อแสดงการดำเนินนโยบายตามหลักคุณประโยชน์ การซ้ำความเรื่องการลดการกดขี่ในบ้านเมือง การซ้ำความเรื่องการดำเนินนโยบายเลิกทาสตามหลักทางสายกลาง และ การซ้ำความเรื่องการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ลักษณะภาษาที่ใช้แสดงกลไกการซ้ำความประกอบด้วย การซ้ำรูปคำ การซ้ำรูปวลี และการซ้ำความ  ผลของการแสดงความเด่นในเรื่องการซ้ำความที่แสดงถึงนโยบายการเลิกทาสที่ปรากฏในข้อความในการเลิกทาสทั้ง 30 ตอน ทำให้เห็นว่ากลไกการซ้ำ เป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้ในการแสดงความมุ่งหมายและแนวทางพระราชดำริในการเลิกทาสอันทำให้การเลิกทาสในประเทศไทยสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี


Repetition device in prominence discourse address About the slavery abolition by King Rama 5

The study of prominence devices by using a repetition mechanism to emphasize the meaning and management plans in the slavery abolition by King Rama5. Data used was appeared in the government gazette (1874-1910 A.D.) totally has 30 sections.

The results showed that repetition mechanism has 4 case there are the repeatedly to display the works according to the principle of benefit, the repeated the story to reduce oppressive in the country, and repeated it on the principle of the abolition of slavery by the middle way and the last is duplicates a story to consultation with the Advisory and consulting his private.

The language that is used consists; repeat Words, phrases and repeat the meaning.

The results show King Chulalongkorn, he chose to show the intention and direction for an initiative the abolition of slavery in Thailand.


Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)