การวิเคราะห์แนวคิดในนิทานอนุตตรธรรม

Authors

  • พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

นิทานอนุตตรธรรม, แนวคิด, Anuttaradhama Tales, Concepts

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งจะวิเคราะห์แนวคิดที่แฝงอยู่ในนิทานพระโอวาทของอนุตตรธรรม ซึ่งการเล่านิทานนี้มีจุดประสงค์เพื่อขยายความคำสอนให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้นเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจธรรมะที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้ถ่องแท้ แนวคิดที่ปรากฏในนิทานเหล่านี้แฝงด้วยข้อคิดที่สอดคล้องกับคำสอนในทางพุทธศาสนา  อันได้แก่   เรื่องเกี่ยวกับโทษของความโลภ โทษของการมีอัตตา โทษของการมีอคติ โทษของการอิจฉาการหวาดระแวงกัน   เรื่องการหวังลาภลอยเป็นเรื่องเพ้อฝัน เรื่องของพฤติกรรมของมนุษย์จะทำให้คนรักหรือชังได้ เรื่องความสุขเกิดจากการคิดดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่เป็นอยู่ เรื่องข้อดีและข้อเสียเฉพาะตัวของมนุษย์ที่ไม่ควรเลียนแบบกัน เรื่องความไม่แน่นอนของชีวิต เรื่องความโชคดีหรือโชคร้ายที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้เสมอ เรื่องความทุกข์หรือสุข เรื่องปัญหาชีวิตมนุษย์สามารถแก้ไขได้ด้วยการพิจารณาข้อบกพร่องของตนและแก้ไขที่ตัวเอง บางปัญหาหากยังแก้ไขไม่ได้ก็ต้องปล่อยวาง เรื่องอายุมนุษย์ไม่ยืนยาว ไม่รู้ว่าวันใดจะหมดอายุขัย ทุกขณะที่ยังมีชีวิตอยู่จึงต้องเร่งรีบทำคุณงามความดี เพื่อให้เกิดบุญกุศล จะไม่ต้องสำนึกเสียใจภายหลังเมื่อไร้กายเนื้อที่จะสร้างบุญกุศล เรื่องการมีจิตใจหนักแน่นและมั่นใจว่า กำลังทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ผู้บำเพ็ญธรรมจึงไม่ควรหูเบา เชื่อคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นจนกระทั่งเกิดความลังเลใจในสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่

 

An Analysis of Concepts in Anuttaradhama Tales

This research aims to analyze the implicit concepts in the stories of the Anuttara Dharma testimony.  The stories reveal implied notions that can be associated with Buddhist teachings; for instance, those about the peril of greed, of egotism, of prejudice, and of jealousy and suspicion.  It can, thus, be reflected from the stories that  hoping for unexpected luck is an unrealistic fancy, that being loved or hated depends on an individual’s behavior, that each person is unique of his/her strengths and  weaknesses, and therefore imitating others’ behaviors is not advised, that nothing on earth is permanent, so fortune and misfortune and suffering and pleasure may  come to man unexpectedly,  permanent, so fortune and misfortune and suffering and pleasure may  come  to  man unexpectedly, that obstacles in the human life can be tackled by searching for one’s own faults and rectifying them, and if there are problems that  cannot be overcome, maybe it is time to let them go, that happiness is the result of well-thinking and self-satisfaction, that human life is brief and there is no way to know when life will be ended, so one must focus on doing good deeds in every living moment so that there will be no regret when death takes away the merit-making capability of the human physical body, and that a person practicing Dharma must possess a firm mind and have unwavering and criticism-proof confidence as to the good deeds he/she is doing.             

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)